ความไม่แน่นอนและหวาดกลัวต่อโรคอุบัติใหม่ทำให้บรรยากาศของเมืองที่เคยมีชีวิตชีวากลับเงียบงันและน่าหดหู่ ด้วยปัจจัยหลายอย่างในภาวะที่ไม่ปกติทำให้ชีวิตของหลายคนไม่เหมือนเดิม สถานที่ที่เคยคึกครื้นหลายแห่งเองก็ต้องปิดตัวลง แต่ในช่วงที่คนเริ่มปรับตัวกันได้มากขึ้นและสถานการณ์คลี่คลายไปได้ในระดับนึง มีคนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มนึงลุกขึ้นมาทำอะไรบ้างอย่างเพื่อกอบกู้สีสันและเสียงดนตรีเหล่านั้นกลับมา และหวังว่าทุกอย่างจะกลับเป็นปกติอีกครั้ง
แต่พอมาคิดดูดี ๆ มันไม่เคยมีอะไรปกติธรรมดาตั้งแต่ทีแรกอยู่แล้ว…
อาคาร 4 ชั้นในซอยลาดพร้าว 18 ที่เป็นทั้งคาเฟ่ ออฟฟิศ และสตูดิโอถ่ายภาพ ครั้งหนึ่งมันได้ถูกทำให้เป็นสถานที่ชุบชีวิต เติมพลัง และเชื่อมโยงให้ดนตรีกับผู้คนเกิดปฏิสัมพันธ์กันอีกครั้งในช่วงเวลาแสนยากลำบาก จากจุดเริ่มต้นเพียงเพราะคิดถึงความสนุก เพลงดี ๆ และอยากเจอหน้าเพื่อน ๆ ในวันที่ไม่ค่อยมีใครกล้าออกจากบ้าน กลายมาเป็นสถานที่ที่ทุกคนนึกถึงและพึ่งพิงได้เสมอ
เราเลยชวนส่วนหนึ่งของทีมเบื้องหลัง บี—นรินทร์ บวรรัตนปราณ, มิว—จิรัสย์ เมธาพัฒน์วสุกุล, กร วรศะริน และ กร—ณฐกร ลีฬหะสุวรรณ มาพูดคุยถึงความเปลี่ยนแปลงใน Never Normal เวอร์ชัน 2.0 ที่ทุกคนกำลังจะได้สัมผัสกัน
“สเปซนี้ชื่อว่า Never Normal อยู่แล้ว” กรเริ่มเล่าถึงจุดเริ่มต้นแรกสุด “เรามากินข้าวที่ WAWA Café & Bar เป็นคาเฟ่อยู่ชั้นล่างของตึกนี้เพราะว่าใกล้บ้าน พอเห็นว่าที่สวยดีอีกวันก็เลยพาแม่มา แล้วพี่บีที่เป็นเจ้าของก็เข้ามาคุยกับแม่ แล้วแม่ก็ขายว่าเนี่ย ลูกเป็นดีเจ ก็เลยได้คุยกับพี่บี เขาก็บอกว่าเราชอบเพลงแบบนี้ อยากรู้ว่ามันมีที่ไหนอีกบ้าง เพราะเขาชอบไป BEAM แต่ตอนนั้นถามดีเจแล้วดีเจบอกไม่มีที่อื่นที่เปิดเพลงแบบนี้อีกแล้ว
“เราก็เลยบอกเขาว่าที่ไหนมีปาร์ตี้บ้าง พาเขาไปเที่ยวร้านพี่ตุ๋ย (อภิชาติ ชัยแก้ว เจ้าของ Club Culture, Club Astra, Dickinson’s Culture Cafe, Cafe de Moc) ไป DeCommune ที่เมื่อก่อนอยู่ทองหล่อ ไป ๆ มา ๆ พี่บีเลยชวนว่ามาจัดงานเล่นกันไหม ตอนนั้นยังทำปาร์ตี้ชื่อ MELA อยู่ ก็ขอเขาลองจัดทั้งข้างล่าง ข้างบน มั่วไปหมด แล้วก็เริ่มมีโปรเจกต์อื่น ๆ เพิ่มมา ทั้งงาน Shhh! ทั้ง ESC ซึ่งงานพวกนี้เป็นจุดเริ่มที่เรากับพี่บีได้เรียนรู้กัน ไม่ใช่แค่วิธีการทำงาน แต่สามารถอยู่ด้วยกันได้ไหม”
“ความโชคดีของเราคือจังหวะเวลาด้วย” มิวเสริม ”ก่อนหน้านี้มันยังมีที่ให้ไป ทุกคนยังติดเที่ยวทองหล่อ-เอกมัยอยู่ พอบอกว่าลาดพร้าวคนจะบอกว่าไกลมาก แต่พอช่วงโควิดไม่มีที่ไหนให้ไป ลาดพร้าวก็เป็นที่เดียวที่เปิดให้แค่เพื่อน ๆ กันมา แล้วพอเพื่อนถ่ายลงสตอรี่ ก็เริ่มเรียกคนมาได้”
เดิมที MELA เป็นการรวมตัวของกลุ่มดีเจ ประกอบไปด้วย กร (Kova O Sarin) มิว (Jirus) และสมาชิกอีกสามคนคือ กฤษ มอร์ตัน (Krit Morton), มันตา มอร์ตัน (Munta Morton), เพียว—ภูริช ศรีสวย และ ตั๊ก อุบลศิริ (Takky/ Acid Sisters) จัดปาร์ตี้เพลงเทคโนกันอยู่เป็นประจำ และมีงานใหญ่ประจำปีชื่อว่า Clubnacht แต่ด้วยภาระหน้าที่ที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบทำให้ต้องแยกย้ายกันไป
มิว: กระแสโควิดมันก็เริ่มดีขึ้น รู้สึกไม่ได้น่ากลัวนาดนั้นแล้ว แต่ว่ายังไม่มีวัคซีนเลยนะ (หัวเราะ) ตอนนั้นเพียวยังอยู่ ก็ชวนเรามาช่วยงานพี่บี พอเพียวไปทำอย่างอื่น กลายเป็นว่าเราก็อยู่กับเขาจนถึงตอนนี้
กร: ช่วงนั้นยังมีเคอร์ฟิวอยู่เลย ไอเดียคือว่า… ก็อยากตี้แหละ แต่จะทำยังไงให้มันยังอยู่ในกฎระเบียบ ก็เลยต้องเริ่มเร็ว คือบ่ายโมง แต่พอถึงเวลาเคอร์ฟิวปุ๊บ ถ้าใครไม่ยอมกลับบ้าน ก็ต้องอยู่ถึงเช้าจนกลับได้ แล้วมันก็เป็นอย่างนี้มาเรื่อย ๆ (หัวเราะ)
ตอนนั้นงานจัดตอนกลางวัน เหตุผลคือแค่อยากเมา (หัวเราะ) เลยตั้งชื่อว่า Afternoon Sound แล้วพอจัดได้ประมาณครั้งที่ 3 ก็เห็นว่ามีคนชวนกันปากต่อปาก เลยทำไปเรื่อย ๆ
บี: รอบก่อน ๆ เหมือนทำโดยความไม่รู้และไม่มีใครมาแนะนำ แต่พอเกิดการทำซ้ำก็รู้เรื่องขึ้น มีเพื่อนเพิ่ม เป้าหมายแรกของการทำ Afternoon Sound คือเราต้องเปิดอาทิตย์ละครั้งให้ได้ ให้คนเริ่มจำ ถ้าเขาอยากมาหาเราเมื่อไหร่ก็จะได้เจอเราตลอด
การกินยำในค่ำคืนหนึ่ง จุดประกาย ‘โมเดลยำแซบ’ ปั้นไนต์คลับในฝัน
บี: โมเดลยำแซบคือโมเดลเพิ่มเพื่อนไปได้เรื่อย ๆ สมัยก่อนแต่ละกลุ่มมันเที่ยวกันแยก ๆ ก็เริ่มมารู้จักกัน เริ่มรวมตัว แนะนำต่อ ขยายขึ้น ซึ่งมันก็ดี
กร: หลัก ๆ เราอยากได้เพื่อน อยากได้คนมาปาร์ตี้ มาฟังเพลง ฟังดนตรีแบบที่เราชอบเพิ่ม แต่จะทำอย่างนั้นได้ อย่างแรกคือเสียงต้องดีก่อน แล้วทุกอย่างมันจะชัดเจนขึ้นมาเอง ต้องบอกก่อนว่าแนวคิดหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นคือเอามาจากพี่ตุ๋ย พี่ตุ๋ยเคยเล่าให้ฟังเรื่องการทำคลับว่ามันมีวัฒนธรรมที่ถ้าทำดี ๆ จนคลับแข็งแรง จะมีดีเจจ่ายเงินเพื่อขอมาเล่น เพราะดีเจก็ต้องการซื้อประสบการณ์แล้วก็ได้โปรไฟล์ เลยมาเล่าให้พี่บีฟังตอนไปกินยำกันว่ามันมีโมเดลนี้อยู่ส่วนตัวอยากทำคลับแบบที่ตัวเองชอบอยู่แล้ว ก็รู้สึกว่าอยากทำให้มันไปถึงตรงนั้นให้ได้ และสิ่งที่จะทำให้มันไปถึงได้ คือการลงเล่นด้วยกันหลายคน
บี: การทำคลับเราว่ามันยากเพราะไม่ใช่แค่สร้างขึ้นมาแล้วก็ซื้อลำโพงดี ๆ มาลงแล้วมันจะเสร็จ กลายเป็นว่ามันมีเรื่องพฤติกรรมของคน โชคดีที่คนที่มาอยู่กับพวกเราคือพวกศิลปิน เขาก็จะคอยแนะนำกันว่าตรงนี้มันควรอย่างนี้ หรือบูธอันนี้เล่นแล้วเมื่อยหลัง ก็มีการพัฒนาเรื่อย ๆ
ถ้ามา Never Normal ในหนึ่งปีจะสังเกตว่าตำแหน่งดีเจมันเปลี่ยนตลอด วันแรกเล่นตรงมุมห้อง แล้วก็ย้ายไปตรงนู้น ก่อนจะย้ายมาอยู่ตรงที่ปัจจุบัน คือเราก็มีประสบการณ์มากขึ้นเรื่องการดีไซน์สเปซ เรื่องเสียงเราก็ซีเรียสมากขึ้น เพื่อคนจะได้รู้ว่านี่คือสิ่งที่ดี แล้วจะได้พัฒนากัน บอกต่อกันไปเรื่อย ๆ
เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ร้านอาหาร สถานบันเทิงต่าง ๆ กลับมาให้บริการ ชาวต่างชาติเริ่มเดินทางเข้ามาเพิ่มมากขึ้น แต่ Never Normal กลับเลือกที่จะปิดปรับปรุง ทำให้นักเต้นกระจัดกระจายกันไปตามคลับอื่น ๆ แทน ทว่าทุกคนก็ไม่ลืมที่จะถามถึงอยู่เรื่อย ๆ ว่าเมื่อไหร่พวกเขาจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง
สิ้นสุดการรอคอย ในวันที่ 31 มีนาคม บ้านหลังที่สองของเรฟเวอร์แห่งนี้จะเปิดประตูต้อนรับมิตรสหายและมือใหม่หัดเรฟ พร้อมเป้าหมายที่ใหญ่กว่าเดิมนอกเหนือไปจากการให้ทุกคนมาสนุกกับเพลงแดนซ์หลากแนว แต่จะเป็นคอมมิวนิตีที่ส่งเสริมให้ซีนดีเจและวัฒนธรรมคลับของไทยเข้มแข็งขึ้นกว่าเดิม
มิว: อย่างที่คุยกับพี่ตุ๋ยว่าคลับที่ควรจะเป็นมันต้องเป็นยังไง เราทดลองกันมาตั้งแต่ทำปาร์ตี้อยู่ข้างล่างที่ตรงที่เป็นคาเฟ่กันแล้ว มันก็เวิร์กแหละ แล้วพอเหมือนเราได้เริ่มใหม่ ขยับไปเป็นสเกลที่ใหญ่ขึ้น ก็เลยอยากลองทำอะคูสติกห้อง เพราะเชื่อว่าถ้าห้องได้ ลำโพงอะไรก็ได้
กร: ถ้าเสียงดี มันการันตีไปได้แล้ว 70% ว่าคนที่มาใหม่จะได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อให้เขาจะไม่รู้จักเพลงมาก่อนเลย เราเชื่อแบบนั้นมาตลอด พอได้ซื้อลำโพงมาลองตั้งเอง แค่นี้ก็รู้สึกมั่นใจที่จะชวนคนใหม่ ๆ มาได้เพิ่มขึ้น ยังไม่ต้องนึกถึงไฟอะไรเลย เพราะสิ่งสำคัญมันคือดนตรี ถ้ารายละเอียดของเสียงในเพลงไม่ออก มันก็จบแล้ว ซึ่งคนที่มาทำอะคูสติกเขาทำบริษัทที่ไทยมานานละ ปกติเขาทำห้องประชุม แต่เขาเคยทำคลับ Ministry of Sound ที่ไทยก่อนจะปิดตัวไป เซ็บ (Sebastian Koish) เป็นคนติดต่อให้เขามาช่วยดู แล้วเขายินดีมากเพราะอันนี้มันเป็นงานสนุกของเขา แต่เอาจริงที่ชั้นสองมันไม่ได้ทำแค่กลุ่มเรากลุ่มเดียว ต้องขอบคุณด้วยคนช่วยเยอะมากจริง ๆ เยอะจนเรียกว่าเป็นร้านของทุกคนเลยก็ได้ ก็เกินความคาดหมาย แต่อยากฟังเสียงมากตอนนี้ (หัวเราะ)
มิว: ช่วงเดือนสองเดือนแรกอาจจะยังไม่ใช่เพราะเรารอลำโพงที่สั่งมาอยู่ นี่ก็ใช้ของ d&b Audiotechnik เราก็ไปจอยกับเขาด้วย เขาก็มาช่วยเราเหมือนกัน
กร: แล้วเราก็อาจจะมีเวิร์กช็อปหรือสัมมนาที่เกี่ยวกับซาวด์ ซึ่งเราอยากได้อยู่แล้ว อาจจะสองเดือนครั้ง เดี๋ยวมีกิจกรรมอะไรเราก็จะโปรโมตให้เขาด้วยว่ามีแบรนด์นี้นะ แบรนด์เขาก็ใหญ่อยู่เหมือนกัน เขาก็อยากเริ่มมาตีตลาดแหละ การที่ปาร์ตี้อยู่ในย่านชุมชน เคยโดนร้องเรียนไหม
กร: มีเราก็พยายามคุมเพลงให้ไม่ดังเกินอยู่แล้ว แต่ส่วนมากจะเป็นเสียงคนมากกว่าที่โดนว่า
มิว: จนถึง ณ ตอนนี้เสียงคอมเพลนมันคือคนคุยกันข้างนอกอย่างเดียวเลย เราก็พยายามเซฟอย่างที่ทุกคนเห็น ว่าคนออกไปก็ต้องเงียบหน่อย เพราะข้างนอกถัดไปจากโถงโล่งเรามันคือห้องนอนเขาเลยไง แล้วเป็นคนแก่ด้วย เขาก็ตื่นง่าย ก็คอยบอกเราแหละ โทรแจ้งตำรวจบ้าง ก็ได้เรียนรู้จากเขา หลัง ๆ เลยจ้างคนมาคอยไล่เข้าข้างใน แต่เวลาต่างชาติที่มาใหม่แล้วเขาไม่รู้ว่าต้องเบา ก็ต้องคอยบอก แต่ส่วนใหญ่จะพูดยาก (หัวเราะ)
กร: จริง ๆ ที่ปิดรีโนเวทเพราะเรื่องคนคุยเนี่ยแหละ พอคนเยอะที่ฟลอร์เขาก็ไปหาที่อยู่สบาย ๆ ซึ่งก็คือข้างนอก แต่เราก็ไม่อยากให้คนออกไปเยอะ เลยทำชั้นหนึ่งเป็นสเปซให้คนคุย ตัวปาร์ตี้จะอยู่ชั้นสอง ซึ่งมันก็จะมาพร้อมกับชาเลนจ์ใหม่มาก ๆ เหมือนกัน เพราะมันเป็นพื้นที่ใหม่ ใหญ่ขึ้น วิธีรับมือก็คงจะอีกแบบ
บี: สมัยก่อน Never Normal มีชั้นเดียว ตัวบาร์กับแดนซ์ฟลอร์อยู่รวม ๆ กันหมด ตอนนี้พอข้างบนเป็นห้องเต้นรำ ก็จะแยกเป็นสองบาร์แทน บาร์ก็จะไม่ได้ proper เท่าข้างล่าง
Never Normal x กร ลี Independence
กร ลี: คนที่มาปาร์ตี้เขาคงไม่มีเวลามาเลือกดริงก์ เราดีไซน์กันไว้ว่าให้เป็นบาร์โฟลวไว ๆ เมนูเบสิก จินทอนิก ไฮบอล วิสกี้น้ำ วิสกี้โซดา เพราะพนักงานที่โอเปอเรตกะดึกค่อนข้างหายาก ส่วนข้างล่างจะทำให้เป็นซีเรียสบาร์มากขึ้น เป็นโซนที่คนมานั่งชิวได้ในช่วงเวลาที่ปาร์ตี้ไม่มี อาจจะเป็นห้าโมงนั่งกินไวน์ กินค็อกเทล เปิดเพลงเบา ๆ นั่งทำงานได้ ใครคุยงานเสร็จ ถอดปลั๊ก เชิญชั้นสองเลย
บี: คนที่มา Never Normal เป็นทั้งพี่น้องที่อยู่ในวงการเดียวกัน บางทีเป็นลูกค้าเรา แล้วผมก็เป็นลูกค้าเขา (หัวเราะ) พอดีกรลีจาก Independence เขาว่างพอดี ก็เลยชวนมาเป็นแมเนเจอร์ให้บาร์ กรลีด่ากูว่าชุ่ย (หัวเราะ) ซึ่งจริง เพราะเมื่อก่อนเราทำกันเองโดยไม่มีระบบระเบียบอะไรทั้งนั้น พวกเราเป็นคนสบาย ๆ แต่การที่มันสบาย ๆ มันจะทำให้ทุกอย่างไม่เห็นอนาคตว่าเราจะไปยังไงต่อ แล้วถ้าเราเริ่มมีเพื่อนมากขึ้น สองชั้นจะเริ่มวุ่นวายละ ถ้าเราจัดการพื้นฐานไม่ดีมันน่าจะพัง เลยไปไหว้วานกรลีมาช่วย สอนเรื่องเอกสาร ระบบระเบียบอะไรงี้
จากแต่ก่อน คำว่าปาร์ตี้ดูมีแต่ภาพลบ แต่ตอนนี้คนดูเปิดรับขึ้น แถมคนที่มายังอายุน้อยลงเรื่อย ๆ
มิว: ก็ต้องขอบคุณวงการแฟชัน เพราะดนตรีกับแฟชันจริง ๆ มันมาคู่กันอยู่แล้ว ตอน 90s คนเรฟแต่งตัวกันแบบนึง แต่พอมันมาแล้วก็ไป แต่ตอนนี้มันกลับมาอีกที เช่นเกาหลีจะเอาแฟชัน 90s มาแปะไว้บน K-pop แต่สุดท้ายแล้วความ 90s ยังมีเนื้อเรื่องเก่าของมันอยู่ว่าเด็กยุคนั้นมันแต่งตัวของมันแบบนี้ คนที่แต่งตัวตามก็เริ่มคิดแล้วว่ามันมาจากคัลเจอร์อะไร ก็ไปเจอว่ามัน rave กัน แล้วมันเป็นเพลงยังไง ก็เริ่มฟัง ก็ทำให้มาถึงจุดที่คนเขาได้เห็นว่า rave เป็นยังไง มันไปของมันเองแบบนั้น สื่อทางเลือกสมัยนี้ก็เยอะ ศิลปิน นักร้อง ดีเจที่ดังของสมัยนี้ตามสื่อออนไลน์ผนวกเข้ากับการแต่งตัว ก็ส่งเสริมกันให้เข้าถึงคนหมู่มากได้กว้างขึ้น
ตอนนี้ดีเจเยอะมาก ใคร ๆ ก็เปิดเพลงได้ แล้วอีเวนต์ก็เยอะอีก
มิว: จริง ๆ ก็น่ายินดีนะ ที่ไทยอะ ขอให้มีเยอะ ๆ เลย จะได้สนุก เราก็พยายามไปให้มันครบ ๆ (หัวเราะ)
กร: เนี่ยคือเป้าหมายของเราว่าคนต้องเยอะกว่านี้ เลยหาเพื่อนอยู่เรื่อย ๆ แต่ว่าเรื่องงานชน ปกติเราก็คุยกันตลอดว่าใครจัดตอนไหน แต่บางงานอยู่ ๆ ก็ผุดมา งงกันหมด แต่ก็พยายามจะคุยกันว่าวันนี้มีอะไรไหม
มีดีเจที่ไม่ใช่เพื่อน ๆ ในกลุ่มเราขอมาเปิดบ้างหรือยัง
มิว: จริง ๆ มีเยอะมาก แต่เราก็พยายามสโคปว่าได้แค่ไหน เราไม่ค่อยรับคนต่างประเทศมาเล่นตรงนี้เพราะอยากผลักดันโลคัลจริง ๆ คนไทยที่เปิดดีก็มีอยู่เยอะ เราอยากให้คนติดโลคัล สร้างฮีโร่ในซีนขึ้นมามากกว่า ดีเจเมืองนอกเขาแค่มาแล้วก็ไป แต่ Never Normal มันเป็นอารมณ์เพื่อนชวนเพื่อนมาเล่น สมมติว่าถ้าคนจากต่างประเทศเป็นเพื่อนของใคร จะชวนมาก็ได้ เราก็ให้ แต่เราจะถือว่าคนที่ชวนต้องรับประกันได้นะว่าเพลงคนนี้โอเค เพราะถ้าเขาไม่ได้เป็นงั้นจริงคนชวนก็เสียเครดิตเอง รอบหน้าไม่เชื่อแล้ว ไม่ให้
กร: ก็ยอมรับว่าเลือกพวกตัวเองจริง (มิว: มันอยู่แล้ว เรื่องรสนิยม พอเป็นพวกกัน เราเข้าใจความต้องการของกันและกัน) บางคนมองว่าถ้ามาเล่นที่นี่เพลงต้องเป็นแบบนี้ แบบนั้น เท่านั้นรึเปล่า เอาจริงเวลาหาเพลงเดี๋ยวนี้ส่วนมากมันก็มาจากที่ที่ใกล้เคียงกันหมด ต้องขอบคุณอินเทอร์เน็ต ที่ลดข้อจำกัดตรงนั้นไปได้เยอะ แต่ไม่ได้บอกว่าเพลงหาได้เหมือนกันหมดแล้วจะเล่นออกมาเหมือนกัน เพราะต่างคนก็รู้สึกกับเพลงคนละแบบ สมมติให้เซ็ตลิสต์เดียวกันก็เล่นไม่เหมือนกันอยู่ดี เราไม่ได้เลือกที่เพลงอย่างเดียว ส่วนตัวคิดว่ามันไม่ใช่แค่เลือกเพลงดีแล้วจะได้เล่น เพราะการเล่นมันต้องคอนเน็กกับคน ไม่ใช่การเข้าไปคุยนะ แต่เป็นการดู crowd ดูไวบ์ เพลงแนวไหน ถ้าถูกเลือกให้เหมาะกับเวลา สถานที่ ผู้คน มันได้หมดแหละ เราฟรีฟอร์มมาก แต่ภายใต้หลักการที่ว่านั้น การที่เราเลือกเพื่อนก่อนเพราะเหมือนเรารู้มือกัน แต่ไม่ได้บอกว่าหน้าใหม่ไม่ได้มีโอกาส
มิว: เราชอบจัดให้เพื่อนเรามาเล่นเต็มที่คนละ 3 ชั่วโมงมากกว่า พอคนนี้ทำเต็มที่ มันเหมือนไปสร้างแรงบันดาลใจให้อีกคนที่ได้ดูแล้วเกิดความรู้สึกว่า ‘เดี๋ยวรอบหน้าเจอกู’ เช่น ให้เอลลี่ (Elaheh) เล่น แล้วต่อไปก็เป็นตั๊กกี้ เป็นเรา แล้วก็ทำไปเรื่อย ๆ เหมือนสร้างชาเลนจ์ให้เพื่อนสนุกกันเอง แต่ก็ส่งผลให้คนอื่นรู้สึกได้ด้วยว่า ‘เอ้ย สนุกว่ะ’ ซึ่งคนหน้าใหม่ที่มาฟัง บางคนก็ไปต่อยอดจากเพลงที่เราเล่น อย่างเวลาว่าง ๆ คนใหม่ ๆ เขาขอมาซ้อม ได้ฟังเพลงเขาแล้วแบบ เชี่ย เนี่ยหรอคนที่ฟังกูเล่นอยู่บ่อย ๆ แม่งน่ากลัวสัส นึกออกปะ มันบ้ามาก คือถ้าเขาแค่เล่นเป็น เราอาจจะไม่เก่งไปเลยก็ได้ (หัวเราะ) พอเราเห็นพัฒนาการเขา เราเองที่อยู่มาสักพักก็รู้สึกว่าต้องหนีแล้ว ต้องพัฒนาตัวเอง เป็นวงจรที่มันมากสำหรับเรา
กร: ตอนนี้คุยกันเยอะมากเรื่องนี้ว่าเอาไงดีที่จะมีสลอตให้คนใหม่ ๆ มาลอง เพราะเราก็อยากส่งแนวคิดอันนี้ต่อไป เรารู้สึกว่าวงการมันโตไปได้อีก
เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ร้านอาหาร สถานบันเทิงต่าง ๆ กลับมาให้บริการ ชาวต่างชาติเริ่มเดินทางเข้ามาเพิ่มมากขึ้น แต่ Never Normal กลับเลือกที่จะปิดปรับปรุง ทำให้นักเต้นกระจัดกระจายกันไปตามคลับอื่น ๆ แทน ทว่าทุกคนก็ไม่ลืมที่จะถามถึงอยู่เรื่อย ๆ ว่าเมื่อไหร่พวกเขาจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง
สิ้นสุดการรอคอย ในวันที่ 31 มีนาคม บ้านหลังที่สองของเรฟเวอร์แห่งนี้จะเปิดประตูต้อนรับมิตรสหายและมือใหม่หัดเรฟ พร้อมเป้าหมายที่ใหญ่กว่าเดิมนอกเหนือไปจากการให้ทุกคนมาสนุกกับเพลงแดนซ์หลากแนว แต่จะเป็นคอมมิวนิตีที่ส่งเสริมให้ซีนดีเจและวัฒนธรรมคลับของไทยเข้มแข็งขึ้นกว่าเดิม
มิว: อย่างที่คุยกับพี่ตุ๋ยว่าคลับที่ควรจะเป็นมันต้องเป็นยังไง เราทดลองกันมาตั้งแต่ทำปาร์ตี้อยู่ข้างล่างที่ตรงที่เป็นคาเฟ่กันแล้ว มันก็เวิร์กแหละ แล้วพอเหมือนเราได้เริ่มใหม่ ขยับไปเป็นสเกลที่ใหญ่ขึ้น ก็เลยอยากลองทำอะคูสติกห้อง เพราะเชื่อว่าถ้าห้องได้ ลำโพงอะไรก็ได้
กร: ถ้าเสียงดี มันการันตีไปได้แล้ว 70% ว่าคนที่มาใหม่จะได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อให้เขาจะไม่รู้จักเพลงมาก่อนเลย เราเชื่อแบบนั้นมาตลอด พอได้ซื้อลำโพงมาลองตั้งเอง แค่นี้ก็รู้สึกมั่นใจที่จะชวนคนใหม่ ๆ มาได้เพิ่มขึ้น ยังไม่ต้องนึกถึงไฟอะไรเลย เพราะสิ่งสำคัญมันคือดนตรี ถ้ารายละเอียดของเสียงในเพลงไม่ออก มันก็จบแล้ว ซึ่งคนที่มาทำอะคูสติกเขาทำบริษัทที่ไทยมานานละ ปกติเขาทำห้องประชุม แต่เขาเคยทำคลับ Ministry of Sound ที่ไทยก่อนจะปิดตัวไป เซ็บ (Sebastian Koish) เป็นคนติดต่อให้เขามาช่วยดู แล้วเขายินดีมากเพราะอันนี้มันเป็นงานสนุกของเขา แต่เอาจริงที่ชั้นสองมันไม่ได้ทำแค่กลุ่มเรากลุ่มเดียว ต้องขอบคุณด้วยคนช่วยเยอะมากจริง ๆ เยอะจนเรียกว่าเป็นร้านของทุกคนเลยก็ได้ ก็เกินความคาดหมาย แต่อยากฟังเสียงมากตอนนี้ (หัวเราะ)
มิว: ช่วงเดือนสองเดือนแรกอาจจะยังไม่ใช่เพราะเรารอลำโพงที่สั่งมาอยู่ นี่ก็ใช้ของ d&b Audiotechnik เราก็ไปจอยกับเขาด้วย เขาก็มาช่วยเราเหมือนกัน
กร: แล้วเราก็อาจจะมีเวิร์กช็อปหรือสัมมนาที่เกี่ยวกับซาวด์ ซึ่งเราอยากได้อยู่แล้ว อาจจะสองเดือนครั้ง เดี๋ยวมีกิจกรรมอะไรเราก็จะโปรโมตให้เขาด้วยว่ามีแบรนด์นี้นะ แบรนด์เขาก็ใหญ่อยู่เหมือนกัน เขาก็อยากเริ่มมาตีตลาดแหละ การที่ปาร์ตี้อยู่ในย่านชุมชน เคยโดนร้องเรียนไหม
กร: มีเราก็พยายามคุมเพลงให้ไม่ดังเกินอยู่แล้ว แต่ส่วนมากจะเป็นเสียงคนมากกว่าที่โดนว่า
มิว: จนถึง ณ ตอนนี้เสียงคอมเพลนมันคือคนคุยกันข้างนอกอย่างเดียวเลย เราก็พยายามเซฟอย่างที่ทุกคนเห็น ว่าคนออกไปก็ต้องเงียบหน่อย เพราะข้างนอกถัดไปจากโถงโล่งเรามันคือห้องนอนเขาเลยไง แล้วเป็นคนแก่ด้วย เขาก็ตื่นง่าย ก็คอยบอกเราแหละ โทรแจ้งตำรวจบ้าง ก็ได้เรียนรู้จากเขา หลัง ๆ เลยจ้างคนมาคอยไล่เข้าข้างใน แต่เวลาต่างชาติที่มาใหม่แล้วเขาไม่รู้ว่าต้องเบา ก็ต้องคอยบอก แต่ส่วนใหญ่จะพูดยาก (หัวเราะ)
กร: จริง ๆ ที่ปิดรีโนเวทเพราะเรื่องคนคุยเนี่ยแหละ พอคนเยอะที่ฟลอร์เขาก็ไปหาที่อยู่สบาย ๆ ซึ่งก็คือข้างนอก แต่เราก็ไม่อยากให้คนออกไปเยอะ เลยทำชั้นหนึ่งเป็นสเปซให้คนคุย ตัวปาร์ตี้จะอยู่ชั้นสอง ซึ่งมันก็จะมาพร้อมกับชาเลนจ์ใหม่มาก ๆ เหมือนกัน เพราะมันเป็นพื้นที่ใหม่ ใหญ่ขึ้น วิธีรับมือก็คงจะอีกแบบ
บี: สมัยก่อน Never Normal มีชั้นเดียว ตัวบาร์กับแดนซ์ฟลอร์อยู่รวม ๆ กันหมด ตอนนี้พอข้างบนเป็นห้องเต้นรำ ก็จะแยกเป็นสองบาร์แทน บาร์ก็จะไม่ได้ proper เท่าข้างล่าง
Never Normal x กร ลี Independence
กร ลี: คนที่มาปาร์ตี้เขาคงไม่มีเวลามาเลือกดริงก์ เราดีไซน์กันไว้ว่าให้เป็นบาร์โฟลวไว ๆ เมนูเบสิก จินทอนิก ไฮบอล วิสกี้น้ำ วิสกี้โซดา เพราะพนักงานที่โอเปอเรตกะดึกค่อนข้างหายาก ส่วนข้างล่างจะทำให้เป็นซีเรียสบาร์มากขึ้น เป็นโซนที่คนมานั่งชิวได้ในช่วงเวลาที่ปาร์ตี้ไม่มี อาจจะเป็นห้าโมงนั่งกินไวน์ กินค็อกเทล เปิดเพลงเบา ๆ นั่งทำงานได้ ใครคุยงานเสร็จ ถอดปลั๊ก เชิญชั้นสองเลย
บี: คนที่มา Never Normal เป็นทั้งพี่น้องที่อยู่ในวงการเดียวกัน บางทีเป็นลูกค้าเรา แล้วผมก็เป็นลูกค้าเขา (หัวเราะ) พอดีกรลีจาก Independence เขาว่างพอดี ก็เลยชวนมาเป็นแมเนเจอร์ให้บาร์ กรลีด่ากูว่าชุ่ย (หัวเราะ) ซึ่งจริง เพราะเมื่อก่อนเราทำกันเองโดยไม่มีระบบระเบียบอะไรทั้งนั้น พวกเราเป็นคนสบาย ๆ แต่การที่มันสบาย ๆ มันจะทำให้ทุกอย่างไม่เห็นอนาคตว่าเราจะไปยังไงต่อ แล้วถ้าเราเริ่มมีเพื่อนมากขึ้น สองชั้นจะเริ่มวุ่นวายละ ถ้าเราจัดการพื้นฐานไม่ดีมันน่าจะพัง เลยไปไหว้วานกรลีมาช่วย สอนเรื่องเอกสาร ระบบระเบียบอะไรงี้
จากแต่ก่อน คำว่าปาร์ตี้ดูมีแต่ภาพลบ แต่ตอนนี้คนดูเปิดรับขึ้น แถมคนที่มายังอายุน้อยลงเรื่อย ๆ
มิว: ก็ต้องขอบคุณวงการแฟชัน เพราะดนตรีกับแฟชันจริง ๆ มันมาคู่กันอยู่แล้ว ตอน 90s คนเรฟแต่งตัวกันแบบนึง แต่พอมันมาแล้วก็ไป แต่ตอนนี้มันกลับมาอีกที เช่นเกาหลีจะเอาแฟชัน 90s มาแปะไว้บน K-pop แต่สุดท้ายแล้วความ 90s ยังมีเนื้อเรื่องเก่าของมันอยู่ว่าเด็กยุคนั้นมันแต่งตัวของมันแบบนี้ คนที่แต่งตัวตามก็เริ่มคิดแล้วว่ามันมาจากคัลเจอร์อะไร ก็ไปเจอว่ามัน rave กัน แล้วมันเป็นเพลงยังไง ก็เริ่มฟัง ก็ทำให้มาถึงจุดที่คนเขาได้เห็นว่า rave เป็นยังไง มันไปของมันเองแบบนั้น สื่อทางเลือกสมัยนี้ก็เยอะ ศิลปิน นักร้อง ดีเจที่ดังของสมัยนี้ตามสื่อออนไลน์ผนวกเข้ากับการแต่งตัว ก็ส่งเสริมกันให้เข้าถึงคนหมู่มากได้กว้างขึ้น
ซีนคึกคักขึ้นได้เพราะอะไร
กร: พี่ตุ๋ยเคยบอกว่าเพราะมีเวนิว มันมีพื้นที่ มีสนามเด็กเล่นให้มาเจอกัน ทุกคนที่มาก็คือเพื่อนเราที่เคยทำงานกันมา ได้คุยกัน มันมีอะไรก็เอามาแชร์กัน ได้ลองอะไรด้วยกันเยอะขึ้น ไม่เวิร์กก็ขยำทิ้ง ปรับ ๆ ไปเรื่อย ๆ วีคหน้าลองอีกแบบ แล้วมันก็ได้ความรู้ไปด้วยกัน
มิว: เห็นภาพตรงกันมากขึ้น เหมือนก่อนหน้านี้เขามีชุดความคิดนึง เรามีชุดความคิดนึง พอมาทำกันอีเวนต์นึงเสร็จแล้วก็หายไป ต่างคนต่างไปเรียนรู้เพิ่ม กลับมาทำด้วยกันอีก แล้วก็หายไปอีก
กร: แล้วอีกข้อดีคือพอมีเวนิว มันเห็นชัดมากเลยว่าเป็นที่รวมทุกคน มันดีมากในแง่งาน ในแง่ความแข็งแรงของซีน ที่นี่บางคนจะบอกว่ามันคือ after party แต่มันไม่เชิง มันคือ กูจะมากี่โมงยังไงกูก็เจอเพื่อนแน่ มันคือที่สุดท้ายที่คนจะมาอยู่ดี
แต่ถามว่ามีคนที่มาแล้วไม่เห็นด้วยกับเราไหม มันก็มี คิดว่าเยอะด้วย แต่ก็เคารพในการตัดสินใจของเขา ในเมื่อบางอย่างก็ไปให้เขามาคิดเหมือนเราก็ไม่ได้ ก็โอเค แต่ว่าอยากให้มาแชร์กันอีกนะ อยากฟังเหมือนกัน เปิดรับ เปิดกว้างอยู่แล้ว ที่ไม่เห็นด้วยเช่นเรื่องอะไรบ้าง
มิว: ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเสียง สเปซ แชนเดเลียร์
เมื่อก่อนชั้นล่างตรงที่เป็นคาเฟ่ ตอนกลางคืนก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นแดนซ์ฟลอร์ แต่ปัญหาคือมีแชนเดอเลียร์อยู่กลางร้านทำให้เต้นไม่สะดวก จนตอนหลังร้านก็ย้ายแชนเดอเลียร์เขยิบออกไปให้อีก
กร: แชนเดเลียร์เนี่ยไฟต์กันฉิบหาย ประมาณ 3 รอบ คือมันเกะกะจริง แต่มันมีประโยชน์มาก การที่มีมันทำให้ฟลอร์กระชับขึ้น ก็ยอมให้มีมัน ไม่งั้นคนจะกระจาย ส่วนเรื่องเสียง subjective มาก บางคนบอกไม่เพราะ ไม่ดี ย่านนี้หายไป โอเค จริง ไม่ได้บอกว่าไม่จริง แต่ว่าด้วยเซ็ตอัพตอนนั้นยังเอาขึ้นไม่ได้ แล้วก็ดังกว่านี้มากไม่ได้ เราเลยเอาเอเนอร์จี้บนฟลอร์เป็น priority
มิว: ช่วงแรก ๆ เวลาเขาถามว่าเราเป็นใคร หรือกำลังทำอะไรกับใครอยู่ เราจะบอกว่าพี่บีเป็นนายทุน คนก็อาจจะคิดว่าที่นี่ทำเอาตังมาโดยตลอด ซึ่งเราไม่ได้ทำเอาตัง เราทำเอามัน เอาเพื่อน เอาซีนอย่างเดียว ถามได้เลยว่าทุกวันนี้เราได้เงินจากที่นี่เท่าไหร่กันเชียว มันไม่ได้เยอะเลย คุยกันเลยว่าแบบ ที่นี่ไม่ได้ทำให้เรารวยแน่นอน เราไปหางานหลักกันเถอะ เราถึงเปิดแค่ศุกร์เสาร์ไง หรืออาจจะเรื่องราคาดื่ม เวลาเลี้ยงดีเจ ซึ่งเราพยายามสร้างสแตนดาร์ดเพื่อให้เราอยู่ได้ด้วย ผมคิดว่ามันก็อาจจะมีคนเที่ยวยุคก่อน ๆ ที่มองว่าเบียร์ต้องถูกกว่านี้สิวะ เหล้าต้องถูกกว่านี้… สำหรับเราในแง่การเป็นซีน เราอาจจะเป็นหน้าใหม่ในแง่สเปซดนตรี แต่จริง ๆ เราแคร์คนนะ
บี: เราแคร์ สมัยแรกเราไม่เก็บค่าเข้าด้วยนะเพราะกลัวคนจะไม่มา อย่างที่มิวบอกว่าเราพยายามจะสร้างสแตนดาร์ดเพื่อให้ซีนอยู่ได้ เพราะถ้าเราทำแบบไม่เก็บตัง ขายทุกอย่างถูก สุดท้ายถ้าเราอยู่ไม่ได้ มันก็ไม่มีสเปซให้มาแสดงออก ถ้ามองว่าเราขาย ATK 100 บาทแล้วเราจะรวย โปรดอย่าคิดอย่างนั้น (หัวเราะ) แล้วการที่เรา free ticket คนดูถูกเราด้วยการไปกินเบียร์ข้างนอก แล้วกลับมาฟังเพลงฟรี คุณดูถูกแม้กระทั่งดีเจที่มาเล่นให้คุณฟัง (มิว: เมื่อก่อนไม่มีตังจ่ายดีเจ ขอจ่ายแค่ 500) แล้วสุดท้ายกลายเป็นว่าเราต้องไปขอดีเจจ่ายถูก เราว่ามันเป็นสแตนดาร์ดที่ไม่ดี เราคิดว่าทำยังไงก็ได้ให้คนที่มาเล่นมีเงินไปซื้อเพลงดี ๆ มาให้เราฟัง ให้เขาได้ไปต่อ เขาจะได้พัฒนา
มิว: กับอีกเรื่อง เราเคยคุยกันสามคนว่าถ้าเราเริ่มเรียกตัวเองเป็น underground มันจะเป็นการกันคนอื่นออกไปทันที เราไม่เคยมองว่าตัวเองเป็น underground เรารู้ว่าเพลงที่เราเล่นอาจจะ underground สำหรับบางคน แต่เราไม่เคยใช้มันสำหรับที่นี่
บี: เราว่าเราตีความ underground ไม่เหมือนกัน ของเราคำว่า underground คือเราอยู่ที่ของเรา มีกลุ่มคนที่ชอบสิ่งเดียวกัน แต่ไม่ได้ไม่ต้อนรับคนอื่น แค่ไม่ได้เอาใจทุกคน upperground มันคือการออกไปข้างนอก ไปโชว์ แสดงออก ซึ่งเราก็มองว่า underground มันมีพื้นที่ไม่จำกัด คนฟัง underground เหมือนกันอยู่อีกกลุ่มนึง แต่ไม่เคยเจอกัน วันนึงมาเจอกัน คุยไปคุยมาถูกคอ คอมมิวนิตีมันก็ใหญ่ขึ้นได้เรื่อย ๆ
ตอนนี้ underground มันเริ่มเชื่อมกันแล้วทั่วโลก เรารู้สึกว่าเอเชียมันเจ๋งมากแล้วตอนนี้ สมมติไปเกาหลี Never Normal ก็คอนเนคกับ Seoul Community Radio หรือที่บาหลีก็มี Potato Head แนวเพลงอื่น ๆ กลุ่มอื่น ๆ ก็เริ่มคุยกัน
มิว: ดีเจต่างประเทศก็มีมาบ้าง เราดันปิดเพื่อรีโนเวทพอเป็นต่างชาติก็ไม่ค่อยได้ติดต่อเขาไป แต่เวลาเพื่อนมาเราก็จะแอบ ๆ ปาร์ตี้กันเอง ให้เพื่อนที่มาจากจากเกาหลี เวียดนามมาเล่น มันเป็นจังหวะที่โลกมันเปิด จริง ๆ เขาก็จอยกันหมดแหละ
กร: เราก็แค่ทำสิ่งที่คิดว่าจะทำให้มันไปไกล ต่างคนต่างทำของตัวเอง เมื่อก่อนเราอาจจะไม่รู้ว่าเราต้องคุยกับใคร ก็กลับมาที่เดิมที่เรายังไม่มีศูนย์กลาง พอมันเป็นในมุมว่าที่นี่เป็นศูนย์กลาง พอรู้ว่าใครทำอะไรก็มาช่วยกัน แบกไปด้วยกัน เกมระดับนี้มันต้องช่วยกันเล่น
มิว: เราว่าเป็นเรื่องภาษาด้วย แล้วพอมันไม่มีสถานที่ให้เห็นชัด ๆ เขาก็ไม่ได้มองที่ดีเจไทย อย่างเราทำ MELA มา จัดงานใหญ่ ๆ ก็มีน้อยคนที่เป็นฝรั่งจะเห็น มันจะมีช่วงนึงที่ฝรั่งเขาก็เที่ยวแต่กลุ่มฝรั่ง กลุ่มคนไทยก็เที่ยวแต่ดีเจคนไทย มันไม่ได้มาจอยกันเลย มันคือปัญหาของเมื่อก่อน ตอนนี้ดีขึ้น เริ่มจอยกันมากขึ้น ดีเจฝรั่งเริ่มเห็นดีเจไทย ตัวโปรโมเตอร์คนจัดอีเวนต์ใหญ่ ๆ เองเขาก็เริ่มเห็นดีเจไทย เขาก็อยากเอาความเป็นดีเจไทยเข้าไปให้สากลเห็นมากขึ้น ก็ช่วย ๆ กันอยู่ตลอด ก็ดี
คาดหวังให้โฉมใหม่ของ NN สร้างสรรค์สังคมยังไงบ้าง
กร: คือมันสร้างสรรค์ไปแล้ว อยากให้มันโตขึ้นไป คิดว่าจะได้ประสบการณ์ที่ดีขึ้น ก็อยากให้มันแข็งแรงขึ้น โฟกัสที่เดิม เป้าหมายหลักของเราคือ regional มันต้องโหดขึ้น
มิว: เคยพยายามคิดไปเรื่องอื่นเพราะหลงทาง ฟุ้งซ่านว่าอันนู้นมันต้องดี อันนี้ต้องแจ๋ว แต่สุดท้ายก็กลับมาที่เป้าหมายเดิม คือทำคอมมิวนิตีให้แข็งแรงและใหญ่ขึ้นให้ได้ก่อน ทำไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยประกอบ ๆ อย่างอื่นเข้ามา ต้องสร้างฮีโร่ให้ได้
บี: Never Normal มันคือการขยายโดยที่เรามีความสนุกกับ quality อยากให้ทุกคนมาเล่นดนตรีโดยเป็นตัวเอง ที่นี่เป็นการให้ศิลปินหรือดีเจมาโชว์สิ่งที่ตัวเองเป็น
เป้าหมายในอนาคต
บี: Never Normal ต้อง = music ให้ได้ ดังนั้นมันจะไม่ได้มีแค่เทคโน แต่จะมีวง เรามีคุยการทำโรงหนังด้วย คาเฟ่จะกลายเป็น listening bar ข้างล่าง เคยเห็นปะเวลาเราไปคาเฟ่ มันจะเป็นเพลงร้าน แต่เราอาจจะมีเครื่องไวนิลให้ แล้วคุณก็ไปเลือกแผ่นมาฟังเองได้เลย นี่คือกลางวัน แล้วพอการที่ทำให้เขาได้เลือก มันไม่ใช่ว่าเขามาร้านนี้แล้วต้องฟังเพลงแบบนี้เท่านั้น คุณจะได้ฟังสิ่งที่คุณอยากฟัง เอาไปเลยคนละเครื่อง มีหูฟังให้ เดี๋ยวมีมุมขายแผ่นด้วย กลางคืนก็มีดีเจมาเปิดอยู่แล้ว
มิว: เราว่าประวัติศาสตร์ของดนตรีแนวนี้ ไม่ว่าจะแดนซ์ หรืออิเล็กทรอนิก คลับมิวสิกมันไม่เคยถูกสื่อสารพูดในออฟไลน์เท่าไหร่ในประเทศไทย เรากับกรได้ไอเดียจากตอนที่ไปเล่นที่เกาหลี มันมีห้องฟังเพลง มีไวนิลให้เลือกฟังเลย ภาพที่เราเห็นมันเหมือนห้องสมุดของแผ่นเสียง มีหนังสือเกี่ยวกับดนตรี เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ใช่เลย เราต้องมีการสื่อสารประวัติศาสตร์ของตัวมันเองเพื่อให้คนแยกแนวได้ว่ายุคนี้คนชอบอะไร อันนี้คือดิสโก้ ดิสโก้ดีป แอซิดดิสโก้ มันต้องย่อยถึงขนาดนั้น
บี: เราอาจจะไม่ได้ขนาดทำมิวเซียม การเป็น listening bar ที่บอกคือเราอยากให้ทุกคนมาแล้วคนส่วนใหญ่บางทีเขาก็ไม่ได้อยากฟังเพลงของร้านตลอดเวลา บางคนเขาไม่ได้มาฟังด้วยซ้ำ เขามานั่งทำงาน แต่การที่เขามีโอกาสได้เลือกฟัง มีเครื่องอยู่ข้าง ๆ ของเขาเอง ทำงานไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย มันยังไม่มีที่แบบนั้นให้เขาได้เลือกมากขนาดนั้น การฟังเพลงวิทยุคือเขาเปิดให้เราฟัง เพลงนี้อยากโปรโมต แต่การที่มีที่ที่เราเลือกเพลงฟังเองได้ มันทำให้คนได้พัฒนาด้านการฟังเพลง เราคุยกับมิวว่าสมัยก่อนเรามี Tower Records มันแยกเป็นแนว ๆ ไป ก็รู้สึกว่าถ้าที่นี่มีก็ดี สมมติลูกค้ามาไม่ได้ชอบเทคโน เรามีซิตี้ป๊อปให้เขาเลือกฟังเอง
กร ลี: อาจจะต้องมีระบบเมมเบอร์เข้ามา ดูว่าใช้เครื่องเป็นไหม
มิว: ตอนนี้ใครยืมเครื่องไป คอยเช็กสภาพ
บี: จริง ๆ มองว่าเราต้องสอนเขาใช้ด้วย ซึ่งก็มีความเสี่ยงแหละ แต่ถามเราเราก็คุ้มค่า แล้วก็อาจจะมีฉายหนังทางเลือก กำลังคิดว่า 24 ชั่วโมงอยากให้มันทำอะไรได้หมดเลยที่นี่ ข้างบนถ้าไม่ได้ทำอีเวนต์ อาจจะมีสอนดีเจ สอนแต่งเพลง ให้คนมาเปิดคอร์สเวิร์กช็อปก็เป็นไปได้ คืออย่างที่บอกว่าอยากให้มันครอบคลุมเรื่องเพลงทั้งหมด อย่างวงการดีเจไทย น้อยคนมากที่จะแต่งเพลง แต่ถ้าพวกนักดนตรีแต่งกันอยู่แล้ว ถ้ามีเวิร์กช็อปอะไรก็ดี ไหน ๆ ห้องมันว่าง ทำมาขนาดนี้ละ ใช้หน่อย (หัวเราะ)
กร: ก็คือเราจะทำเป็นสเปซแหละ มีอีเวนต์อะไรต่าง ๆ
มิว: แต่ศุกร์เสาร์จะเป็นคลับแน่นอน วันอื่นทำอะไรได้หมดเลย เป้าหมายของปี 2023 มันคือการวางโครงสร้างของระบบดนตรีในซีนเราในแบบของเรา ภาพรวมที่เราจะทำคือสร้างรากให้มันแข็งแรงขึ้น สเต็ปต่อไปคืออะไรต้องรอดู
ติดตามความเคลื่อนไหวของ Never Normal ได้
ที่นี่ https://www.facebook.com/NeverNormalBKK
IG: nevernormal.bangkok