หนึ่งในอัลบั้มที่สร้างความน่าตื่นเต้นให้กับซีนดนตรีไทยในปีนี้ได้ดีสุด ๆ ขอยกให้ ‘The Greng Jai Piece’ อัลบั้มเต็มอันดับที่ 2 ของ Phum Viphurit ซึ่งออกมาลบภาพเก่า ๆ ของความเป็น Lover Boy ออกไปจนหมด ถูกแทนที่ด้วยกลิ่นอายความเป็นไทยในมิติต่าง ๆ และองค์ประกอบทางดนตรีที่เติบโตขึ้นอย่างคมคายมีอารมณ์ขัน ซึ่งสะท้อนความสามารถที่ไม่เคยหยุดนิ่งของภูมิเองด้วย
ซึ่งพูดได้เต็มปากว่าอัลบั้มนี้อาจจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของภูมิก็ได้ ด้วยการทำงานด้วยตัวเองทุกกระบวนการ ทำให้เห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยยิ้มอารมณ์ดีของเขา มีความจริงจังและความตั้งใจในฐานะศิลปินคนหนึ่งที่อยากก้าวข้ามตัวเองตลอดเวลา
โชคดีจริง ๆ ที่เราได้เจอภูมิโดยบังเอิญตอนเขามาร้านแผ่นเสียงพอดี เลยขอเวลานั่งคุยกันซักนิดถึงเบื้องหลังของแต่ละเพลงในอัลบั้มล่าสุดของเขา ต้อนรับไวนิลที่กำลังจะปล่อยออกมา และพูดคุยถึงความฝันอันเรียบง่ายในฐานะคนรักดนตรี รวมถึงตัวตนของภูมิที่ใครอาจจะยังไม่เคยสัมผัส
**เพื่ออรรถรสในการอ่านบทสัมภาษณ์ เราขอไม่แปลประโยคภาษาอังกฤษของภูมิเป็นภาษาไทย**
Temple Fair
ภูมิ: Temple Fair ก็น่าจะเป็นเพลงแรกเลยที่ตัดสินใจแต่งในอัลบั้มนี้ เริ่มจากไอเดียที่ภูมิอยากเอาบีทสามช่า ไอ้ motive ที่มันเป็น “ตึง ตึงตึง ตึงตึง” มาใช้ แต่ให้มันไม่สามช่า ไม่ใช่ว่ามันไม่ดีครับ แต่รู้สึกว่าอยากเอามา adapt อยากให้มันเป็น motive ที่เป็นแบบอูคูเลเล่ในเพลง แบบคนจะฟังรู้สึกเป็น seamless ไปกับดนตรี
แล้วก็ใส่ chord sequence เข้าไป ขาดอย่างเดียวคือขาดเนื้อเรื่อง ว่าจะอยากเล่าเรื่องจาก third person รู้สึกว่ามีธีมงานวัดเพราะทำดนตรีขึ้นมา ส่วนตัวไม่เคยได้ไปเที่ยวงานวัดจริง ๆ เคยแต่ขับรถผ่าน ก็เลยอยากหาอะไรที่มันเป็น material media ที่มันเกี่ยวกับงานวัด เลยไปเจอหนังเรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ ก็เลยได้เนื้อเพลงทั้งหมดมาจากหนังเรื่องนี้รวมกับไอเดียนี้ก็เลยออกมาเป็น Temple Fair
แต่ชอบที่ในระหว่างหนังที่มันรู้สึกมีความดาร์คอยู่นะ เวลาเอาไปเล่นเมืองนอกแล้วอธิบายว่าเพลงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับภูมินะ มันเกี่ยวกับหนังไทยชื่อว่า มนต์รักทรานซิสเตอร์ มันแทบจะไม่มีใครได้ดูอยู่แล้วด้วย audience เพราะหนังมันสักพักแล้ว ก็จะอธิบายว่ามันเหมือนแบบ Thai Forest Gump อารมณ์ประมาณนั้น คนดูก็จะแบบ อ๋อออ โอเค เค้าจะ get idea ว่าเราตาม journey ของ character ไปอยู่ จะอธิบายให้คนว่าเพลงนี้ sorry เป็นยังไง
แล้วอย่างเวลาเราเล่นสดเราก็ใช้ backing track เนาะ
ภูมิ: อ๋อ ไม่ใช้ครับเราเอาพวกฉิ่ง พวก percussion ใส่ใน sampler เค้าก็จะกดตาม tempo ที่เราเล่น เราเล่นไม่เคย tempo เท่ากันอยู่แล้ว ทุกอย่างก็จะเป็นสด
เราไม่เคยเห็นใครหยิบซาวด์ตรงนี้มาใช้ในซีนนอกกระแสเลย
ภูมิ: ภูมิรู้สึกว่าแปลกที่คนไทยเราจะมี reject อะไรที่มันแบบรู้สึกว่า เช่นในซีนกรุงเทพ ไม่ใช่ว่าคนกรุงเทพเป็นงี้ทุกคนแต่ว่าแบบ อะไรที่มันรู้สึกว่าแบบ เฮ้ย มันต่างจังหวัด มันบ้านนอก มัน lame มันไรงี้ จริง ๆ แล้ว It’s like it’s the only thing that truely แบบไทย แต่ว่าเราเลือกที่จะ reject ว่ามันไม่ western เลยว่ะ จริง ๆ แล้ว a combination of both is not wrong แต่รู้สึกว่ามันเป็น challenge ที่ภูมิก็ไม่ได้คิดจะเปลี่ยนมุมมองของคนฟัง แต่มันเป็นอะไรที่เรา curious เหมือนกันจังหวะแบบนี้ ใช้ฉิ่งใช้กลองไทยมันเอามา adapt ได้ มันอยากเล่าด้วยซาวด์แบบนี้
ภูมิเคยฟัง Lover Boy สามช่ารึยัง
ภูมิ: เคยครับ เหมือนเวอร์ชั่นรถบัมพ์ (หัวเราะ) ภูมิชอบนะ รู้สึกว่าแบบ It’s go hard, you know แบบ yeah (The COSMOS: ดีไม่ดีมันอาจจะเคยเปิดในสงกรานต์สักปีนึง) ใช่ครับ ๆ ตอนฟังผมก็รู้สึกว่า woah, nice เร็วอะ ช่วงนั้นมีคนเอาไปรีมิกซ์เร็วมาก (หัวเราะ) ดีใจครับ ดีใจ
Lady Papaya
ภูมิ: พอเราตั้งชื่ออัลบั้มว่า The Greng Jai Piece อยากให้มันไม่ใช่แค่เพลงเดียวที่มีความไทย เพลงนี้ goal คืออยากทำที่มันเป็น instrumental ทั้งหมดเลย แล้วภูมิไปเจอเพลงที่ชื่อว่า แม่ค้าส้มตำ ของ อรอุมา สิงห์ศิริ ประมาณ 4-5 ปีแล้วจากยูทูปอัลกอริทึ่ม รู้สึกเป็นเพลงที่เท่มาก เป็นเพลงที่ฝรั่งชอบกันเยอะ มีแร็ปเปอร์ชื่อ Action Bronson เอาไป sample ในเพลงแร็ป มีนักมวยปล้ำอเมริกาใช้เป็นเพลงเปิดตัว แต่ไม่เคยมีคนไทยเอามาทำอะไรต่อ เลย approach ค่ายของศิลปินไทยคนนี้ไป แล้วขอซื้อ sample มา บอกเค้าไปว่าอยากเอาริฟฟ์นี้มาใช้ในเพลง อยากจะ sample เสียง ก็เลยน่ะครับ ทำแล้วก็สนุก ๆ เป็นเพลงที่ภูมิใช้ sample เยอะที่สุดละ บีทกลองข้างหลังก็เป็น sample ที่ภูมิ collect มา แล้วก็มา splice ในเพลงออริจินัลเกี่ยวกับแม่ค้าส้มตำร้องเกี่ยวกับหนุ่มแท็กซี่ที่มากินส้มตำ ภูมิก็เลยอยากเล่าจากมุมมองของหนุ่มแท็กซี่คนนี้ ทำไมเค้าชอบไปกินส้มตำตรงนี้ ความรู้สึกที่ชอบแม่ค้าส้มตำคนนี้เป็นยังไง ก็เลยมาเป็น Lady Papaya เป็น instrumental piece
ศิลปินต้นฉบับเค้าได้ลองฟังมั้ย
ภูมิ: ภูมิไม่เคยติดต่อกับเค้าเลยครับ ภูมิพยายามหาเค้าใน facebook แล้ว แต่หาไม่เจอ แล้วเหมือนทางค่ายก็ไม่ได้ in touch กับศิลปิน original จำได้ตอนที่ค่ายภูมิติดต่อไปขออนุญาต sample เหมือนค่ายเค้าก็แบบอุ๊ย ลืมไปแล้วว่าเพลงนี้เป็นเพลงในค่ายด้วยซ้ำไป อาจจะห่างไป มันนานแบบ ปี 69 ปี 70 ต้น ๆ นะ เพลงนี้ ดีใจครับที่เราครั้งนึงได้ sample เพลงไทย เอามาตีความแบบนี้ เดี๋ยวต้องรอดูสด จะเปลี่ยนคีย์แล้วภูมิจะตีกลอง
ภูมิอยากจะทำเพลงประมาณนี้อีกมั้ย
ภูมิ: อยากครับ (เน้นเสียง) จริง ๆ อัลบั้มนี้มันเริ่มจากความ rhythmic ก่อน คิดถึงกลองก่อนเลย เพราะส่วนตัวภูมิเป็นมือกลองก่อนเป็นมือกีตาร์หรือนักร้อง ก็เลยรู้สึกว่าอัลบั้มนี้อยากได้ความรู้สึก break beat ที่มันโยกได้ เลยเลือก sample กลองก่อนเลย เป็น genre ที่อยากทำดนตรีเป็น instrumental มากขึ้น เพราะส่วนตัวที่ไปทัวร์บางครั้งมันขี้เกียจร้อง มันเหนื่อยครับ (หัวเราะ) แบบเล่นอย่างเดียวแล้วให้คน vibe เป็นช่วง break จากการที่ไม่ต้องฟังเนื้อร้องตลอดเวลาได้ดี ทั้งในโชว์จริง ทั้งในการฟังอัลบั้มด้วย
Healing House
ภูมิ: Healing House ก็จังหวะแบบไฮบริดเร็กเก้เนี่ย ภูมิได้คอนเซ็ปต์ตั้งแต่ 2019 แล้ว เราชอบ Sticky Fingers ตอนที่โตที่นิวซีแลนด์ก็ฟังเร็กเก้พอสมควร เลยอยากให้มันมีเพลงที่แบบดัดแปลงจังหวะยกของเร็กเก้ แต่ว่าไม่ได้เล่าแบบเร็กเก้ ก็เลยได้ Healing House มา ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับการ breaking bad habits ครับ ช่วงนั้นภูมิคุยกับเพื่อนในยุคนี้บ่อยมาก ที่เค้าแบบว่าแบบ ช่วงโควิดอะ เหมือนหลายคนพออยู่กับตัวเองมาก ๆ หลายคนก็หลอนเหมือนกันนะครับ (หัวเราะ) มันก็ self reflect กับตัวเอง เหมือนหลายคนไม่ชอบตัวเอง ภูมิเองก็เจอประสบการณ์นี้มามันเลยรู้สึกอยากแต่งเพลงที่เกี่ยวกับการ break habits อะไรที่มันไม่ดี เลยเป็นคอนเซ็ปต์ Healing House มันจะเริ่มเป็นจังหวะแบบนี้แล้วจบด้วยความ adrenarine rush นิดนึงครับ
MV ก็ใส่ความเป็นไทยลงไปเยอะมาก ภูมิได้มีส่วนร่วมในการกำกับเอ็มวีด้วย
ภูมิ: ใช่ครับ อันนี้คืออยากทำเอมวีที่มันเล่าเรื่องหลายๆเรื่องที่มีความไทยแต่ไม่ได้มาจากไทม์ไลน์เดียวกัน บางเรื่องอาจเป็น fiction ไปเลย เช่นเป็นซีนแบบพจมาน ซีนคนขี่ม้าที่หัวหิน เอามา compound กัน แต่ละคนจะเชื่อมกันด้วยการที่เค้าอยากจะวิ่งหนีจากอะไรบางอย่าง ออกมาจากสถานการณ์อะไรบางอย่าง เป็น mv ที่สนุกมาก ก่อนหน้านี้ไม่ได้กำกับ MV มาสองสามปีแล้ว ได้ทำกับรุ่นพี่อีกคนนึง สนุกครับ สนุก ๆ
ถ้าจำไม่ผิดนะ Healing House คือเพลงแรกที่ปล่อยมา มันฉีกภาพเดิม ๆ ภูมิไปเลย
ภูมิ: ใช่ครับ ส่วนตัวแล้วคือตั้งใจรู้สึกว่าต่อไปนี้เราไม่น่าจะ appear ในงาน MV เราเยอะขนาดนั้น รู้สึกว่าเราอยากอยู่เบื้องหลังมากขึ้น แล้วพอเราไม่ได้ไปอยู่ใน fore front หรือเป็นตัวเอก คนก็จะมาโฟกัสที่ the real content, The real music, the real visual มากกว่า ไม่งั้นคนก็จะโฟกัสว่า เอ๊ย ภูมิอย่างงั้น ภูมิอย่างงี้ มันก็เป็นอีกหนึ่ง challenge คอนเซ็ปต์ที่ภูมิอยากจะทำงานอย่างงี้ไปเรื่อย ๆ going forward
reception มันก็โอเค มันไม่ได้เป็นอะไรที่บูมอยู่แล้ว ช่วงที่เราแบบโผล่มาในยุคแบบอินเทอร์เน็ตอะไรขนาดนั้น รู้สึกว่ามันได้ audience ที่เค้าตั้งใจฟังเราจริง ๆ อาจจะเพราะภูมิโตขึ้นด้วย คนฟังก็โตขึ้นด้วย มันเลยเป็นแบบ pacing กับ size ซึ่งเรารู้สึกแฮปปี้กับมันมาก ๆ เป็น support system ที่แบบ กำลังพอดี
Tail End feat. Hugo
ภูมิ: ส่วนตัวชอบพี่ hugo มาสักพักแล้ว เคยเจอกันตามงาน Cat ไรงี้ครับ แต่ไม่เคยได้นั่งคุยกันจริง ๆ เพิ่งได้มาคุยกันจริง ๆ ช่วงโควิด แล้วตอนนั้นภูมิกำลังอยากซื้อรถคันแรกในชีวิต คือถ้าเคยเจอพี่ hugo ตามงานเค้าจะขับรถเหมือนแบบ hummer ยี่ห้อไทย รถไทยรุ่ง คือรถอะไรไม่รู้ (หัวเราะ) แล้วไปรีเสิร์ชคือรถไทยรุ่ง เราไม่รู้จักใครคนไหนที่ขับเลย ก็เลยแมสเสจไปถามพี่ hugo ว่า “พี่ hugo ครับ can I ask you about your car, I’m interested in getting my first car” ไรงี้ ไทยรุ่งเป็นไงบ้างครับ เราก็นึกว่าเค้าจะตอบแบบ it’s ok เอ้ย nlp ตอบมาแบบสองหน้าเต็มว่าข้อดีของไทยรุ่งเป็นอย่างงี้ ถ้า you จะเข้าไปในห้าง รุ่นนี้มันจะเข้าไม่ได้มันสูงเกินสองเมตรไรงี้ ระบบข้างในจริง ๆ แล้วมันคือ hilux แล้วมันไม่ได้แฟนซี แต่ถ้า you ต้องการเดินทางกับ crew ไรเงี้ย เค้า answer with care มาก ๆ รู้สึกว่า ว้าว damn thank you so much แต่สุดท้ายแล้วภูมิไปซื้อยี่ห้ออื่น (หัวเราะ)
It’s a bit funny (ขำ) สุดท้ายแล้วก็ keep in touch ครับ แชร์ดนตรีให้กัน ส่ง memes ให้กันบ่อย ก็เลยแบบ got to know him a bit ระหว่างที่กำลังแต่งบั้ม ก็เลยชวนว่า พี่ hugo interested in writing something together ไม่ได้มีไทม์ไลน์ว่าจะเป็นเพลงในอัลบั้มนี้หรืออัลบั้มไหน แค่แบบ would be nice to sit and share ideas and talk ก็เลยไปนั่งแต่งที่ระเบียงบ้านพี่ hugo มา ภายในวันเดียวก็ได้เพลงนี้มาครับ
พี่ hugo เค้าเสนอไลน์นี้มา it would be cool to write a song about when something fun something great is about to end สุดท้ายแล้วมันเหมือนติดอยู่ว่า โอเค you chasing after fun chasing after thrill สุดท้าย tail end of pleasure สุดท้ายมันก็หายมันก็เฟด สุดท้ายมันก็เริ่มศูนย์ใหม่ cycle อะไรเงี้ย ก็เลยสนใจตรงนี้มาก จากไลน์นั้นที่พี่ hugo เสริมมา ก็มาฟอร์มเพลงด้วยกันจนกลายเป็น Tail End
คือตอนแรกที่คุยกับ hugo เพลงนี้คือคุยว่า คือเรามองเป็นภาพ MV ว่าเหมือนเป็น conversation เราเจอกันในบาร์ แล้วบาร์นั้นชื่อว่า Tail End ผู้ชายคนนึงดื่มเหล้าไปแล้วซักสี่ห้าแก้วส่วนอีกคนเพิ่งเข้ามา เค้าตื่นเต้นกับชีวิตมาก it’s feel like a conversation with a stranger at a bar อะ อารมณ์ประมาณนั้นเลยครับ ซึ่งมันเป็น dialogue สำหรับภูมิ มันเป็นเพลงที่มี dialogue ที่รู้สึกเหมือน back and forth back and forth ไม่ได้รีบอะ เพราะเหมือนว่าบาร์ก็กำลังจะปิดแล้วแต่ว่าต่างคนต่างนั่งคุยต่างนั่งแชร์ experience สุดท้ายแล้ว you leave and never meet again something like that and so เป็น first experience การที่นั่งแต่งเพลงกับศิลปินไทยจริง ๆ ครับ
ภูมิได้เก็บเกี่ยวอะไรมาจากพี่ Hugo บ้าง
ภูมิ: I think the way he lives his life and the way he views the music industry. The way he understand how it works, the world, his career แล้วก็ he’s very เค้าเรียกว่าอะไร content อะ it is what it is ดีครับ ดี ๆ ก็ไม่นึกว่าวันนึงจะได้ทำงานกับพี่ hugo เหมือนกันครับ ดีใจที่ได้ทำงานด้วยกัน
Greng Jai Please
ภูมิ: เพลงนี้ก็คือ รู้ว่าตั้งชื่ออัลบั้มว่า The Greng Jai Piece แล้วเหมือนแบบคอนเซปต์อัลบั้มคืออยากจะพูดเกี่ยวกับ invisible rules ที่เราไม่ใช่คนไทย lived by แล้วก็มีเพลงนึงที่มัน directly questioning this theme ไปเลย Greng Jai Please เกิดขึ้นมาจากการที่เราอยากแต่งเพลงที่มีคำว่า “เกรงใจ” แล้วก็อยากอธิบายว่าการเกรงใจคืออะไร สำหรับภูมิเองให้คนที่ไม่ใช่คนไทยรู้จัก in a satirical อะไรเงี้ย ก็เลยได้ Greng Jai Please มาครับ พวกทางพาร์ทดนตรีภูมิคิด chord squence มาซักพักละ
มันเป็น challenge เหมือนกันที่แบบ เราจะฟิตเข้าไปในเพลงยังไงให้มันไม่รู้สึก force อะไรงี้ สุดท้ายแล้วเพลงมันก็กลับมาที่คำถามว่า how many layers must appeal to know exactly how you feel มันก็อย่างงี้ เพราะ interaction ส่วนใหญ่ที่ภูมิเจอเวลาไปออกงานหรือการไปอยู่ society คนที่มี following บางครั้ง คนเราก็ไม่รู้ว่าคนเข้ามาหาเพราะเขาต้องการอะไรจริง ๆ คนที่เข้ามาตีสนิทด้วย หรือว่า interested in genuine friendship อะไรเงี้ย มันเลยทำให้ภูมิ question กับสิ่งนี้มานานมาก ก็เป็นอะไรที่เราอยากจะเขียนถึงมัน
Kiko’s Letter feat. STUTS
ภูมิ: รู้จักกับ STUTS ตั้งแต่ปี 2018 เค้าเคยมาเล่นเปิดให้ภูมิที่ญี่ปุ่นตอนไปทัวร์ญี่ปุ่นครั้งแรก แล้วเค้าเป็นคนแรกที่เป็นโปรดิวเซอร์ที่ตอนมาเล่นบนเวลาไม่ได้เล่นแค่เปิดฉาก เค้าเล่นเครื่อง MPC ทุกเพลง เป็นคนแรกที่ภูมิเห็นเค้าเล่นกดบีทเอง เค้าเป็นคนที่น่ารักมาก แล้วเคยร่วมงานกับเค้าปี 2019 ไปร้องให้เพลงของเค้าเพลงนึง แต่ภูมิรู้สึกว่าบั้มนี้น่าจะเกิดขึ้นจากที่ภูมิทำเพลงสุดท้ายในอัลบั้มที่เราปิด เลยรู้สึกว่าอัลบั้มนี้เนื้อร้องมันเยอะอะ (หัวเราะ) อยากได้เพลงที่เนื้อแบบมินิมอลที่มีแค่สี่ไลน์แต่เป็นสี่ไลน์ที่มันจำได้ keep เป็น motive repeat ไปเรื่อย ๆ
เพลงนี้เริ่ม collab กันจริง ๆ ตอนที่ภูมิไปญี่ปุ่นปีที่แล้ว แล้วเค้าชวนไปนั่งที่บาร์แถวชิบุย่า ไปนั่งชิวนั่งดื่มกันแล้วเค้าเอาเปียโนมาเล่นเอากีตาร์มาเล่นแล้วก็ได้ loop นี้มา กลับมาไทยแล้วมา develop แล้วคิดเนื้อร้อง ไม่ได้เกี่ยวกับความรักตัวเองขนาดนั้น มันเกี่ยวกับ feeling off แบบว่าเป็น ending ของ romance ที่ไม่มีวันลงตัว ไม่ว่า you จะ chase กันหรือว่าอยากครอบครอง แค่ไหนไม่มีทาง เป็นสิ่งที่มัน can’t happen so I wanna to give that essence to move on ก็เลยออกมาเป็น Kiko’s Letter
แล้ว Kiko มาจากไหน
ภูมิ: เราชอบ Kiko Mizuhara ที่เป็นนักแสดงนางแบบ จดหมายนี้เป็นจดหมายที่ Kiko เขียนให้ผู้ชายคนนี้ หรือว่า (หัวเราะ) เราเขียนให้ Kiko แต่ไม่ใช่ Kiko คนนั้น just a figure of speech someone who desire to be with but not possible ส่วนตัวแล้วอยากได้เพลงที่มัน space เยอะ ๆ คนฟังจะได้คิดเป็น visual ได้ ให้มันฟังท้ายอัลบั้มแล้วมันไม่ได้แบบภูมิเทพตลอดเวลา ให้มันเป็น space แบบ space จริง ๆ ให้มันรู้สึกโล่งแล้วค่อย clense ด้วยสองเพลงสุดท้าย
Loving And Letting Go
ภูมิ: fundamentallyม it’s very pop song, very structurally เราเคลียร์มากว่า I wanna write a standard pop song ซึ่งมัน pop and catchy but has depth and meaning to me จริง ๆ เพลงนี้ทำนองเนี่ยเริ่มทำตั้งแต่ปี 2018 มั้งครับ เป็นโปรเจกต์ที่เขียนให้ศิลปินไทยแล้วหลังจากนั้นก็ล่ม สองปีหลังค่ายเกาหลีอยากซื้อไปใช้ ซื้อไปอยู่ในสองเพลงที่เราทำให้ศิลปินเดี่ยวให้ค่าย สุดท้ายแล้วเค้าเอาไปหกเดือน ภูมิรู้สึกว่านานจังวะยังไม่เอาไปใช้อีก แสดงว่าเค้าไม่น่าใช้แล้วละ ภูมิก็เลยขอคืนมา จนสุดท้ายแล้วเลยได้มาเป็นเพลงในอัลบั้ม
มันมี journey Loving And Letting Go theme มันน่าจะลิ้งค์กับ Kiko’s Letter เหมือนกัน เกี่ยวกับการที่ literally loving and letting go I don’t know how to explain (หัวเราะ) I think the most accurate in love song การที่รักใครบางคนโดยที่ไม่ได้รั้งเค้าไว้เมื่อเค้าเปลี่ยนไปแล้วหรือว่าเมื่อเค้าต้องการสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งมัน inspiration มาจากชีวิตรอบตัวเหมือนกัน ไม่ว่าจะ relationship ของพ่อแม่ relationship ของเพื่อนที่แฟนกับเขาเพิ่งเลิกไป หรือ relationship ของภูมิเอง มันเป็น one universal message
Welcome Change
ภูมิ: เพลงนี้ภูมิแต่งท่อน main ตั้งแต่ 2019 ละ แล้วตอนไปทัวร์ภูมิจะเอาเพลงนี้มา encore แล้วภูมิจะเล่นแค่ท่อน main ลูปไปเรื่อย ๆ เพลงนี้ story คือ ภูมิจินตนาการตอนพ่อกับแม่จีบกันเป็นยังไง แค่นั้นเลย เพราะภูมิโตมากับแม่คนเดียว ก็เลยไม่รู้ว่าตอนเค้ารักกันเค้าเป็น couple เค้าเป็นยังไง มันมีรูปนึงในห้องนอนเป็นรูปแม่กับพ่อสมัยม.ปลายมั้ง สมัยที่เค้าเริ่มเป็นแฟนกันก็เลยเอาภาพนั้น เอา visual นั้นมาเป็น center piece ของการแต่งเพลงนี้ แล้วก็ได้ Welcome Change เหมือนแบบพ่อร้องให้แม่ แม่ก็มาร้องให้พ่อตอนที่เค้าอินเลิฟกันจริง ๆ ภูมิเลยรู้สึกว่าเพลงนี้มัน directly link to ภูมิที่สุดแล้ว แต่อย่างในอัลบั้มบั้มนี้เพลงอื่นมันมาจาก mysterious story จากที่อื่น แต่เรื่องนี้มันรู้สึกใกล้ตัวที่สุดแล้ว เวลาเราเล่นหรือตอนทำเพลงมันรู้สึก touching ที่สุดแล้ว
ภูมิอินกับดนตรี house อยู่แล้ว อยากทำอีพีทำอัลบั้มที่เป็น purely electronic ไปเลย จากเพลงที่แบบ post Demarco แบบย่อง ๆ อยู่ดี ๆ มาจากไหนไม่รู้แล้วเต้นเลย มันก็ตรงกับ theme ด้วย
แล้ว MV เป็นลุงคนขับรถกับน้องหมา ทำไมเราถึงเลือกฟุตเทจลุงมาใช้
ภูมิ: ภูมิเจองานของเค้าใน Facebook ประมาณสามสี่ปีแล้วครับ แล้วกดเซฟไว้ ภูมิจะมี folder ใน Facebook แบบงานหรือ memes ต่างๆ ที่ภูมิเห็นแล้วรู้สึกว่าอยากทำงานด้วย it’s really cool มันเป็น aesthetic ที่หาไม่ได้ที่ไหนแล้ว มัน genuine มาก ๆ ตอนทำ Healing House ก็ติดต่อเค้าไปว่าเค้าเป็นหนึ่งในคาแรคเตอร์ในห้าซีน สุดท้ายแล้วเค้าไม่สะดวก แล้วก็คิดว่า โอเค อยากทำงานกับเขาอีกที แล้วตอนเพิ่งทำ Welcome Change เสร็จก็นึกถึงเค้าพอดีเลย เพลงมันเหมาะกับ pacing แบบเฟรมที่มันไม่ได้ตัดบ่อย เหมือนกำลัง voyage ใน ชีวิตประจำวันของเค้า เป็น observer ตอนแรกเกือบจะขอเค้านัดถ่ายใหม่ แต่พอมาคิดดูภูมิไม่อยาก force ให้เกิดซีนขึ้นมา ภูมิก็เลยขอซื้อ 13 คลิปเพื่อมาตัดเอง
เค้ารู้จักภูมิมาก่อนมั้ย
ภูมิ: ตอนแรกเค้าไม่รู้จักภูมิครับ เพราะว่าภูมิว่าภูมิไม่ได้มีชื่อเสียงขนาดนั้นครับ (หัวเราะ) แต่พอเค้าไปฟังงานภูมิแล้วเค้าชอบ และจริง ๆ เค้าดังมาก ๆ ในโลกอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว บางคนมาคอนมอนต์ว่าเคยเห็นลุงคนนี้แล้วใน Facebook เคยเห็นใน memes ต่าง ๆ ในทวิตเตอร์ แบบ oh he’s already famous ดีใจมากที่เค้าอนุญาตให้ภูมิซื้อมาตัด เค้ายินดีมากเลย ภูมิอยากแบบ aesthetic ไม่ได้คิดว่าภาพจะต้องดูแบบเมืองนอก ด้วยคอนเซปต์ของบั้มนี้ด้วย
รู้สึกว่าบั้มนี้มันคือ working with what i have making the most out of it มันคือ the key work ethic ของอัลบั้มนี้ 80% คือภูมิทำเสร็จเองจากที่บ้าน อีก 20% คือไปอัดเสียงร้องใหม่ คือเราเรียบเรียงเองหมดเลย ยกเว้นเพลงที่ทำกับ STUTS ที่ทำด้วยกันจริง ๆ ที่เหลือคือภูมิลุยเองในทุก aspect มาก ๆ ทั้งด้านแบบ Visualize, Key visual ของอัลบั้ม Visualize MV ของอัลบั้มทุกตัว ตัด ดูแลเรื่อง logistics รู้สึกว่ายิ่งโตขึ้นยิ่งอยากทำมากขึ้น มันก็เหนื่อยดีครับ เราภูมิใจกับงานนี้ไม่ว่าผลตอบรับมันจะยิ่งใหญ่หรือจะน้อยขนาดไหน เป็นงานที่เราได้ทำแบบคราฟต์จริง ๆ
แม้แต่ Vinyl เราก็วิ่งปั๊มเองด้วย
ภูมิ: ใช่ครับ ภูมิรู้สึกว่า the few more things done correctly the way we have to do it yourself. Of course, you can have your team do it แต่สุดท้าย you ก็ไม่ได้ฟังว่า quality มันเป็นยังไง เค้าบอก I spend so long making each one ก็เลยแบบ เอ้ย I need to know มันโอเคหรือไม่โอเค เราอยู่ทุกกระบวนการครับ บางคนอาจจะบอกว่า ภูมิมากไป ภูมิพักบ้าง แต่ผมรู้สึกว่าสนุกครับ (หัวเราะ)
พาร์ทไหนยากสุดในอัลบั้มนี้
ภูมิ: finalize ครับ ภูมิเป็นคนที่คิดไอเดียได้เร็วแต่การที่มันจะ commit to the idea หรือทำให้มันเสร็จ อันนี้ไฟนอลละ ยากสุดเลย ตอนไหนที่จะต้องตัดสินใจว่ามันเสร็จแล้ว เราก็บรีฟศิลปินให้ทำปกเลย มันคือ coming to final decision ว่า this is what I actually want แต่ว่ามันก็เหมือนกับ It’s growing up เหมือนกัน when you grow up you have more responsibility มันคือ making decision. be aware everything around you. Ok, Making a call ว่า this is what I want this is what I want this is what I want
ทุกเพลงมันมีมันมีแนวดนตรีที่ต่างกันมาก เราเลยประทับใจกับการเรียงเพลงมาก ภูมิเรียงเพลงในอัลบั้มนี้ยังไง
ภูมิ: lead by feel เลยครับ รู้ว่าอยากให้บั้มเปิดด้วย Temple Fair จบด้วย Welcome Change แค่นั้นเลย ที่เหลือคือฟังแล้วแบบไหนมันรู้สึก natural รู้สึกมันเป็น flow ที่ไม่ฝืน เป็น pleasant listening experience ถ้าเอเนอร์จี้มันดรอปมันก็ควรจะ flow
ทำไมถึงออกมาเป็นงานวาดกับตัวสล็อธ
ภูมิ: ตั้งแต่รู้ตัวว่าจะตั้งชื่อว่า The Greng Jai Piece อยากได้งานที่มีความไทยเพราะมีความ contemporary เลยไปเจองานของพี่คนนี้ เค้าเคยวาดงานโฟล์กข้างวัด เห็นแล้วชอบมากเซฟไว้ใน Facebook folder เดียวกับคนที่ขับรถกับหมา พอได้คอนเซปต์ก็ส่งข้อความไปหาเค้าเลยว่าสนใจทำมั้ย เค้าก็แบบลุยเลยครับ บรีฟเป็นยังไง ภูมิก็บรีฟไปว่าอยากได้ซีนงานวัดที่ตัว character ไม่ใช่คนไทยจากยุคสมัยนี้ อยากให้มันเป็น character จากคนหลาย ๆ sub culture อยู่ในที่เดียวกัน ตรงกลางจะมีตัวสลอธที่ double proportion ให้ตัวใหญ่ดูเซอเรียลขึ้นมา เหมือนเป็นผู้เล่าเรื่อง เป็นคนนั่ง observe ทุกอย่าง มีโคมไฟที่มีอยู่ในห้องทำงานภูมิจริง ๆ เป็นโคมไฟหินหิมาลายัน (หัวเราะ) เค้าก็วาด layout มาให้ดูสามสี่แบบ ภูมิก็บอกอย่าง sloth ไม่อยู่ตรง central ได้มั้ย ค่อย ๆ บรีฟกันไปเรื่อย ๆ จนจบงาน เค้าทำงานดีมาก ทำงานบน canvas ทุกงานที่ภูมิบรีฟและ commision เค้า เค้าก็จะส่ง canvas มาให้ทุกอัน โปสเตอร์ทัวร์ใหม่ภูมิก็บรีฟเค้า
โปสเตอร์ทัวร์ก็สวยมาก
ภูมิ: ขอบคุณมากครับ พี่คนเดิมเลยครับ มันเป็น work flow ที่สนุกมาก เค้าค่อนข้างเข้าใจว่าภูมิต้องการอะไร เหมือนบรีฟกันสองสามครั้งแล้วลุยลงสีเลย (The COSMOS: เพิ่งได้รางวัลไปด้วย) ใช่ ๆๆๆ ภูมิดีใจกับพี่เค้ามาก ๆ เลย แต่เค้าไม่ได้อยู่กรุงเทพนาน น่าจะกลับลพบุรีไปแล้ว ไม่งั้นจะชวนไปดื่ม
ในยุคนี้ที่คำว่า soft power เป็น buzzword มาก ๆ คิดว่าอัลบั้มนี้เป็น soft power มั้ย
ภูมิ: ส่วนตัวภูมิไม่ได้คิดถึงตรงนั้นเลย เพราะรู้สึกว่าช่วงที่ภูมิโผล่ว์ขึ้นมาในโลกซีนจริง ๆ ครั้งแรกที่มีคนมาฟัง in a mass scale เหมือนเราถูก label ตลอด แบบศิลปินไทยไปนู่นไปนี่ไปนั่น ส่วนตัวภูมิก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นคนไทยหรือคนนิวซีแลนด์ขนาดนั้น แค่เพราะว่า this is a stuff I make this is the stuff I like. I just happen to be from here, that’s why people claim me as representing ซึ่งมันก็ไม่ได้ไม่ดีครับ รู้สึกดีที่ I can be a good influence to people from Thailand หรืออย่างคนที่โตมาในเมืองเล็ก ๆ อย่าง Hamilton, New Zealand คนย่านนั้นก็เคลมว่า I’m a product of this high school สุดท้ายแล้ว I think, soft power is not really up to me เท่าไหร่ It up to how other people wanted to see me as มากกว่า I’m not sure that make sense แต่ส่วนตัวแล้วภูมิอยากทำอัลบั้มเพราะรู้สึกว่า I’m Thai and I like these Thai element. I never got into explore in my musical work yet เลยอยากทำ แต่ไม่ได้คิดไปไกลว่า It’s the great example how to mix western and Thai culture together (หัวเราะ) nothing more but if it’s go one more than that, it’s cool as well yeah
แล้วมี feedback จากแฟนเพลงต่างชาติกับความเป็นไทยของเราบ้างมั้ย
ภูมิ: มีครับ ส่วนใหญ่ก็คนใน SEA จะเข้าใจได้ถึงความเกรงใจ ภูมิคุยกับ agent คนญี่ปุ่น เค้าคุยกับภูมินานเลยว่าจริง ๆ ญี่ปุ่นก็มีความเกรงใจแต่มันไม่ได้เรียกว่าเกรงใจ เค้าก็เอามา apply ใน workplace อะไรงี้ It’s sparkle intersting conversation between people ส่วนใหญ่แล้วในเอเชียมากกว่า western culture
ตั้งแต่ภูมิทำ EP แรกจนถึงตอนนี้ ในสายตาภูมิอุตสาหกรรมเพลงไทยมันเปลี่ยนไปยังไงบ้าง
ภูมิ: definitely ภูมิเห็นว่าคนพยายามทำเพลงภาษาอังกฤษกันมากขึ้น which is cool รู้สึกว่ามัน broaden options for listener มันมี options ให้คนฟังเยอะขึ้นมาก มัน move อาจจะช้าแต่มัน move ไปใน direction ที่ดี อย่างที่พี่เพิ่งทำ live house มันมี live house มากขึ้นจริง ๆ ที่ไม่ใช่ผับบาร์ร้านเหล้า คนที่ซื้อไปดูคือตั้งใจไปเสพงานจริง ๆ แล้วมัน make a difference for the artist มาก ๆ ที่มันที space ให้เราไว้ดูดนตรี แล้วคน play attention to you music แล้วมันดีต่อ self-esteem และเกิด creativity ให้ศิลปินมากขึ้น
in terms of like music business แบบ logistic wise คิดว่า music economy in Thailand ก็ยังตามคู่แข่งในเอเชียอย่าง Korean K-pop model เราก็ยังตามเค้าอยู่จริง ๆ อาจจะเพราะว่าเรายังไม่ได้มีคอนเทนต์ที่มันรู้สึก truely authentic and original เลยไม่ได้เป็นซีนที่ world wide อย่าง J-pop K-pop อย่างงี้ It’s really moving in a good direction สำหรับคนที่ไม่ได้เสพดนตรีไทยเยอะขนาดนั้น แต่การ observe จากไกล ๆ ภูมิว่าซีนมันมีสีสันมากขึ้นและกำลัง on a steady rise
คำว่า T-pop สำหรับภูมิคืออะไร
ภูมิ: T-pop… a Thai person making music that is considered popular music แต่ว่าไม่ได้ fix to genre แบบเราต้องทำ characteristic เหมือนเพลงเกาหลี แบบ American หรือ West Coast Indie anything like that’s มียอดผู้ฟังพอสมควรก็ consider T-pop ได้ ภูมิก็ไม่ได้ fix ว่า pop ต้องเป็น genre ขนาดนั้น I think you could classified song that catchy that’s probably a pop song to me เวลาภูมิไปเล่นที่ไหนคนเค้าจะเรียนรู้ว่า yeah this is Thai indie pop. I’m like, ok. (หัวเราะ) มันไม่ได้มาจากการที่ just happened to be a Thai independent artist, whose song is some more popular. That’s why we call Thai indie pop. ทั้ง ๆ ที่ influence และ genre มันมาจากหลาย ๆ ที่
ใกล้เลือกตั้งแล้ว ภูมิคาดหวังอะไรจากรัฐบาลบ้างมั้ย
ภูมิ: คุยกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ใน region นี้ที่เค้าทำงานศิลปะแล้วดูมีหนทาง มันมี funding มันมี space มันมีอะไรให้เรา express จริง ๆ อย่าง censorship ก็น้อยกว่าบ้านเรา (หัวเราะ)
เรื่อง censorship เป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยพูดกัน แต่มันก็สำคัญ
ภูมิ: ถ้าเราจะพูดอะไรที่มันเสียดสีเราก็ต้อง find a tongue in cheek way เราก็ direct อะไรมากไม่ได้ in this current time ประเทศไทย แต่ภูมิหวังว่าอย่างน้อย next election ภูมิอยากให้มันมี funding for artist จริง ๆ มันสำคัญครับ people ignore it ว่า it’s not imprtant but I think it is important. (หัวเราะ) It’s my career, other people’s career it is what it is.
ภูมิเป็นเคสที่หลายคนวิเคราะห์ว่าทำไมถึงไปได้ไกลขนาดนี้ เพราะอะไรเราเลยมาได้ถึงจุดนี้
ภูมิ: ภูมิว่าภูมิแค่ไม่ได้หยุดทำครับ ตั้งแต่อัลบั้มแรกออกไปเราก็ดีใจว่ามีผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นคนในกรุงเทพเป็นหลัก small indie band. I like making stuff, whether it’s like film music video, like poster designs art อาจจะเป็นคนที่ doesn’t get too tired creating จนวันนึงคือภูมิให้เครดิตยูทูปอัลกอริทึมมาก ๆ จากการที่เราโผล่มาจากที่ไหนไม่รู้ มันคืออะไรที่ไม่ได้คาดเดา just a moment in time ที่ภูมิเสือกทำเพลงแนวนี้แถวพัทยา รูปภาพเป็นอย่างงี้ visual เป็นอย่างงี้ sound เป็นอย่างงี้ มัน suit กับ mood คน ต้นปี 2018 มันก็จะออกมาไหลไปเรื่อย มันเป็นอะไรที่เรา replicate ไม่ได้ ไม่ว่าจะแพลนกับมันขนาดไหน ว่าเพลงนี้ในช่วงนี้ ภาพแบบนี้ช่วงนี้ต้องมาชัวร์ มันเป็นอะไรที่ just by task, I think it just my willingness to make stuff and try different thing, try different genre. It’s a lot of fun to be more often the screen for me
ทั้งหมดก็คือ guts ของภูมิอย่างเดียว สัญชาตญาณล้วน ๆ
ภูมิ: I’d say 90% it’s like my guts 10% is like advice from people, from my label. Hey you should do this. I’m like, ummm maybe not. (หัวเราะ) ดื้อครับ เป็นคนดื้อพอสมควร หนักทางด้านนี้
เรากดดันกับอัลบั้มล่าสุดของเรามั้ย
ภูมิ: ส่วนตัวคืออยากทำให้มันถึง expectation ของตัวเองที่เราเซ็ตไว้ คืองานเรา creatively sonically thematically มันต้องอีกเลเวลนึงสำหรับตัวเราเอง คือต้องให้รู้สึกว่าโตขึ้น เรื่อง reception คนเค้าจะฟังเยอะเหมือนเดิมมั้ยหรือ critical acclaim จะเหมือนกันไหม มันก็มีบ้าง แต่ secondary to my own self เราต้อง feed ego เราว่าเราต้องโตขึ้นในฐานะคนแต่งเพลง ในด้าน creative จะเป็นทางด้านนั้นมากกว่า ทุกวันนี้คนที่สนิทจริง ๆ จะรู้ว่าภูมิเป็นคนเครียดแต่คนดูไม่ออกว่าเราเครียด เราเป็นคนที่คิดเยอะมาก ทุกคนมักจะบอกว่าภูมิเครียดจากการที่กดดันตัวเอง จริง ๆ เราไม่ได้ต้อง proof อะไรอีกแล้ว ถ้าเราทำงานแล้วเราแฮปปี้ จริง ๆ แต่เราต้อง proof ตัวเอง constantly ว่าเรา growth นะ เรา explore a new thing ซึ่งมันต้องมี bar ตรงนี้ ต้องมีความเครียดกับความ satisfy บ้าง ถ้าเราไม่มีหรือไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากไป เราจะแบบ… โอเค ภูมินอนอยู่บ้านไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องทำงานอะไรที่มันรู้สึกสร้างสรรค์
ภูมิดูเป็นคนคิดบวกมาก ๆ
ภูมิ: (หัวเราะ) ภูมิว่าภูมิเป็นคนคิด neutral มาก ๆ นะ shivering neutral แต่อาจจะมีเอเนอร์จี้คล้าย ๆ แบบ Hey, you know what. It might work out, if it doesn’t, it’s ok (หัวเราะ)
พอมาถึงจุดนี้แล้วเรารู้สึกว่า โกลเราเปลี่ยนมั้ยในการเป็นศิลปิน
ภูมิ: เปลี่ยนนะครับ รู้สึกว่าสมัยก่อนตอนที่มาใหม่ ๆ เรากดดันตัวเองทางด้านตัวเลขมาก แบบการที่เราจะต้องไปทัวร์มันจะต้องมีตัวเลขประมาณนี้นะถึงจะ cover cost ทุกอย่างได้ แบบต้องผู้ฟัง ต้องมีโชว์ที่ cozy ทุกวันนี้เราปล่อยวางกับมันมากขึ้น รู้สึกว่า everything happens as it meant to happen. It makes you feel a lot more at ease, like whatever comes.
ก้าวต่อไปของภูมิหลังอัลบั้มนี้
ภูมิ: ภูมิอยากทำโปรเจกต์ดนตรีอีกเยอะเลยครับ ตอนนี้มีอันนึงที่ทำชัวร์คือ music for student short films ภูมิอยากทำอัลบั้มหรือ collection songs ที่มียี่สิบสามสิบเพลงที่เป็นแบบ ambient, sort of soundtrack และทุกอย่างมัน royalty free for student เพราะตอนเด็ก ๆ ตอนภูมิเรียน film school ที่มหิดล ภูมิชอบใช้ดนตรีในการ build mood แต่มันหา royaty free ในสมัยนั้นยาก ไฟล์ที่มีให้ในสมัยนั้นมันไม่ใช่อะ (หัวเราะ) ก็เลยอยากทำอัลบั้มที่เป็น ambience เป็น soundtrack ที่คนสามารถดึงไปใช้ free royalty. Something to get out of my own แบบ Phum Viphurit persona, just to make music to serve in different purpose.
น่ารักมาก ๆ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครคิดเหมือนกัน
ภูมิ: It’s very specific ว่า music for student short films น่าจะเป็นเว็บไซต์ชื่อนั้นเลยครับ you can listen ว่าเอา mood แบบ horror ใช่มั้ย หรือจะเป็น synth vibe sci-fi แบบเอเลี่ยนกำลังบุกมา ภูมิก็จะเซ็ตเป็น category ไว้เลยว่าอยากได้ mood แบบไหน ดูดไปใช้ได้เลย ตอนเด็กภูมิต้องการอย่างนั้นมาก กว่าจะหาเว็บที่มัน royalty free แล้วรู้สึกว่าอันนี้โอเคมันยาก รู้สึกว่า it’s not fun it should be something that curated that looks aesthetically pleasing for people of that age going to college and stuff like that. I’m having a lot of fun conceptualize that และตอนนี้กำลังเขียนหนังสืออยู่ครับ หนังสือเกี่ยวกับการไปทัวร์นี่แหละแต่เป็น all the shady stuffs. Not all like fabulous stuff but all the worst parts about touring. ไม่ได้ลิงค์กับตัวเองครับ inspire by true มันมีความฟิคชั่น ไม่ได้เล่าเรื่อง chronological order อีก goal นึงคืออยากเปิดร้านไอติมแถวนี้ ถ้ามีร้านแถวไฮแลนด์ว่าง ภูมิจะเปิดร้านไอติม แต่คอนเซปต์คือรสชาติจะเปลี่ยนไปทุกเดือน you จะไม่รู้ว่ามีรสอะไร but it’s something that I’ve made แล้วโลโก้จะเป็นสล็อธ
ไว้รอไปอุดหนุน
ภูมิ: ช่วงนี้เป็นช่วงในชีวิตที่เรารู้สึกตัวว่า I love music. I wanna existed in the industry until very old เลยพยายามหลีกเลี่ยงให้คนติดกับภาพลักษณ์ตัวเอง ซึ่งมันก็ไม่ผิดถ้าเราเป็นศิลปินแล้วจะใช้ your body asset to sell. It’s fine. แต่ส่วนตัวภูมิเหนื่อย ภูมิรักใน privacy ของตัวเองมาก ไม่อยากให้คนมองเราด้วย น้องเค้าสูง น้องเค้าน่ารัก น้องเค้ายิ้มน่ารัก มันดีหมดแต่รู้สึกว่า for my intention for my work อยาก left behind the music จริง ๆ ภูมิเชื่อว่าถ้าภูมิ reverse แบบ Daft Punk อะ reverse กับ Gorillaz อยู่ดี ๆ หายไปเป็นโลโก้หายไปเป็นภาพ แต่เป็นคอนเซปต์ เราสามารถทำได้อีกหลายอย่าง ทำอาชีพนี้ได้อีกนาน that’s what I think (หัวเราะ) อาจจะผิดก็ได้นะครับ แต่นี่คือคอนเซปต์ของภูมิ และ direction going forward
เราเข้าใจภูมิมาก ๆ เพราะเราก็รู้จักเพื่อนศิลปินหลายคนที่พังเพราะว่าโดนคาดหวังด้วยความที่เป็นศิลปิน ตัวเองก็ต้องเป็นแบรนดิ้งแล้วหลาย ๆ คน รับมือกับความคาดหวังหลาย ๆ อย่างไม่ได้
ภูมิ: กาลเวลามันเปลี่ยนไปครับ there’s always gonna be a fresher face มี younger artist, a fresher sound. I think it’s important that’s value your work as it is จริง ๆ สมมติ if you are an artist, a musician, music should come first ไม่ใช่ what brand you are wearing nothing wrong with that แต่ว่ามันจะ have a different timeline จากที่ภูมิสังเกตมา คนที่เน้นไปทางด้านนี้มาก ๆ จะกอบโกยได้เยอะมาก แต่ว่า for me กับ pacing ชีวิตที่อยากจะมีในตอนนี้ going forward อยากไปแบบ wave ไปเรื่อย ๆ if it dies it dies. At least I would have done what I wanna to
เหมือนเพลง Tail End
ภูมิ: ใช่ครับ เหมือน Welcome Change ด้วยครับ nothing you can do you gotta welcome time change. It’s nice to evolve in this way รู้สึก happy where my mind is creatively, with ideas I have
อยากลองทำเพลงในฟอร์แมตอื่นอีกมั้ย
ภูมิ: ภูมิอยากทำ soundtrack ให้วิดีโอเกม อยาก score specifically indie game ที่มันเล่นจบได้ภายในสองชั่วโมง nature based highly conceptual คือรู้สึกว่า Scoring a film would be cool but I think cooler is scoring for very high concept video game อันที่เป็น interactive. That’s the dream เลย เพราะว่าชอบเล่นเกม แล้ว it would be cool to exist in this world
ถ้าเรากลับไปทำเพลงให้เกมที่เราชอบได้ เราอยากทำเกมอะไร อยากรู้ว่าภูมิเล่นเกมแนวไหน
ภูมิ: สมัยก่อนเป็นเด็ก Fifa ไม่ได้เติมเงินนะ ภูมิเป็นสายศักดิ์ศรีมากแบบ ภูมิจะชนะทีมที่เติมเงินด้วยทีมที่เราปั้นขึ้นมาเอง ช่วงนั้นชีวิตไม่ healthy ครับ ภูมิเล่นฟีฟ่าถึงตีห้าตื่นบ่ายสอง เราไม่ยอมเติมเงิน เราสู้ต่อ ฝืนครับ goal ในตอนนั้นคืออยากมีเพลงในฟีฟ่ามากครับ (The COSMOS: วันนึงเราจะได้ยินเพลงภูมิในเกมฟีฟ่ารึเปล่า) That’s was like an original goal. แต่ตอนนี้ภูมิว่า FIFA has becomes what do you see. แล้ว money machine อะ เรา anti-capitalism เราแบบ no no not cool not cool. It’s still be cool now (หัวเราะ) อยากทำให้เกม Journey เป็นเกมไม่มี narrative ไม่มี dialogue you just walking into light
ที่ปกเหลือง ๆ เป็นทะเลทรายเนาะ
ภูมิ: ใช่ ๆ ครับ Journey เป็นเกม highly music, lots of space, dramatically, you’ll change อีกเกมชื่อ ABZÛ แต่แทนที่จะมีทะเลทราย มันจะเป็นดำน้ำ ไม่มี dialogue ไม่มี narrative เหมือนกัน เราต้องตีความเอง เล่นจบได้ภายใน 2 ชั่วโมง แล้วซาวด์ในนั้นดีมาก เป็น orchestral I’d love to try compose something of that scale, with basic music knowledge that I’ve got, would be very interesting experience
จริง ๆ ก็อยากเห็นภูมิทำเพลงอิเล็กทรอนิกเหมือนกันนะ
ภูมิ: เริ่มทำแล้วครับ ช่วงนี้ซื้อ synth เต็มห้องเลย (The Cosmos: จะได้ฟังเร็ว ๆ นี้มั้ย) หวังว่านะครับ หวังว่าจะได้ฟังในไม่นาน
มีวงไทยที่เราแอบเชียร์อยู่ไหม ที่อยากให้เค้าดังขึ้นมา
ภูมิ: ภูมิเป็น big fan of Solitude Is Bliss รู้สึกว่า very genuine ไม่ต้องเปลี่ยนเนื้อเพลงเป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็ชอบพี่ Napat Sanidvongs something about his stuff มัน resonate with me มาก ๆ ภูมิกลับไปฟังเพลงเค้าบ่อยมาก ๆ มี some sort of energy ที่ภูมิชอบ everybody should have the chance to travel, if not globally, around asia, experience what audience is like oversea, it’s important ให้ดูว่า there’s a whole world out there with people appreciate your work ไม่ว่าจะเป็น scale น้อยหรือ scale ใหญ่ it’s once in a lifetime feeling that everybody should get to have, i hope that is happens
ทุกคนควรได้โอกาสมากกว่านี้ โดยเฉพาะจากภาครัฐเนอะ
ภูมิ: Would be nice, sometimes you just have to do it yourself, not waiting for anybody
ฝากอะไรถึงคนที่เพิ่งฟัง The Greng Jai Piece
ภูมิ: ขอบคุณครับที่ฟัง แล้วก็หวังว่า you get inspired by it in some sort of ways และถ้ามันไม่ได้ inspire ขนาดนั้นก็หวังว่ามันจะ bring you some sort of relief, some sort of comfort แค่นั้นแหละครับ thank you for listening
ถ้าชอบอัลบั้มนี้ Pre-Order ไวนิล ‘The Greng Jai Piece’ ของ Phum Vipurit ได้ที่ CD COSMOS
Pingback: Phum Viphurit จัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกกับ ‘The Greng Jai Gala’